CITY CRACKER

คุยเรื่องต้นไม้และการรักษาต้นไม้ในเมืองกับสันติ โอภาสปกรณ์กิจ จากกลุ่ม BIG Trees

“เราอยากให้คนรู้สึกว่าต้นไม้มันมีค่า ถ้าสมมติเจ้าของพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน เขาอาจจะไม่เห็นคุณค่าเท่าไหร่ แต่เขารู้ว่าสังคมเห็นคุณค่าจนเขาไม่กล้าที่จะตัดต้นไม้โดยไม่มีเหตุผล อยากให้การตัดต้นไม้ทิ้งเป็นชอยซ์สุดท้าย”

หลังปรับปรุงคลองหลอดได้มีการค้นพบว่าในบริเวณคลองหลอดมีต้นตะเคียนเก่าแก่ เป็นต้นไม้ที่ได้รับการปลูกในพื้นที่สาธารณะในเมืองเป็นต้นแรกคู่กรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าถูกปลูกมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ต้นตะเคียนนี้ก็ประสบชะตากรรมเหมือนต้นไม้ใหญ่ในเมืองอื่นๆ ที่เสี่ยงจะยืนต้นตายและเสียหายจากถนน ทางเท้าและการตัดแต่ง ต้นไม้โบราณเหล่านี้จึงดูจะเป็นสมาชิกในเมืองที่ใช้ชีวิตมายาวนานกว่าเราเสียอีก แต่เมืองกลับไม่ได้ถูกออกแบบเผื่อไม้ใหญ่เหล่านี้ กลุ่ม BIG Trees และ เครือข่ายต้นไม้ในเมือง :: Thailand Urban Tree Network เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่สนใจรักษาดูแลและกระตุ้นความสนใจของคนเมืองให้กลับมาสนใจไม้ใหญ่อันเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มสีเขียวๆ ให้กรุงเทพ

City Cracker ชวนคุยกับ สันติ โอภาสปกรณ์กิจ จากกลุ่ม BIG Trees ถึงที่มาที่ไปของต้นไม้โบราณ คุณค่าของต้นไม้ ไปจนถึงการดูแลรักษาต้นไม้ในเมืองว่าทำอย่างไรต้นไม้เหล่านี้ถึงสามารถอยู่ในเมืองได้โดยไม่ตายก่อนวัยอันควรจากการถูกตัด หรือล้มเพราะรากไม่แข็งแรง มีวิธีการไหนที่จะทำให้ต้นไม้อยู่ร่วมกับเมืองและคนเมืองได้

 

https://www.facebook.com/CityCracker/videos/340107309983442/

 

 

 

Share :

Tags: