CITY CRACKER

เชื่อมต่อธรรมชาติและการเรียนรู้ด้วยสวนสาธารณะ ‘สวนป่าสัก’ พื้นที่แห่งการเรียนรู้ระบบนิเวศของเยาวชนและคนเมือง โครงการนำร่องสวน 15 นาทีจาก กทม. และ we! park 

พื้นที่สีเขียว คือพื้นที่สำคัญของเมือง การมีอยู่าของพื้นที่สีเขียวนับเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดว่าผู้คนในเมืองนั้นๆ มีความอยู่ดีมีสุขหรือไม่ ดังนั้นการเข้าถึงและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กทม ให้ความสำคัญเพื่อให้คนเมืองมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้นไปพร้อมๆ กับสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ภายใน 15 นาที 

สวนสาธารณะวิภาวดีรังสิต 5 หรือ สวนป่าสัก คือพื้นที่ในซอยวิภาวดี 5 ที่มีขนาด 2 ไร่ และเป็นหนึ่งในนโยบายพื้นที่นำร่องนโยบายสวน 15 นาที ซึ่งในการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ กทม.ได้ร่วมกับ we! park แพลตฟอร์มการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม โดยการปรับปรุงสวนป่าสักแห่งนี้ทาง we! park ได้จัดกิจกรรมโครงการสวนป่าสักศึกษา จัดสอนวิชาพัฒนาพื้นที่สีเขียวสาธารณะในเมือง ให้เหล่าเยาวชนที่เป็นกำลฃังสำคัญของเมืองในอนาคต ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่แห่งนี้ร่วมกันกับผู้คนในย่าน พร้อมจัดงานเสวนา ‘สวนและระบบนิเวศในเมือง ผ่านการเรียนรู้ของเยาวชน’ ในพื้นที่แห่งนี้ด้วย

งานเสวนาครั้งนี้นอกจากจะมีน้องๆ เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ และผู้คนในย่านมาร่วมรับฟังและพูดคุยเสนอแนะแล้ว ในวงเสวนา ยังมี ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ปาจริยา มหากาญจนะ ผู้อำนวยการส่วนสวนสาธารณะ 1, ภัทร์กร สินสุข ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตจตุจักรฝ่าย 1, อธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ นักวิจัยจากมูลินิธิโลกสีเขียว, ยศพล บุญสม we!park, ธนัชพร เพ็งปัญจ่า  ตัวแทนเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ, พิมพิสุทธิ์ โพธิกุล ตัวแทนเยาวชน ผู้เข้าร่วมโครงการ ดำเนินรายการโดยพิชญาพร โพธิ์สง่า ผู้สื่อข่าวและพิธิกร ThaiPBS และThe Active

วงเสวนาครั้งนี้ เริ่มต้นด้วยตัวแทนเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ มาเล่าเรื่องที่มาและปัญหาของสวนแห่งนี้ พร้อมบอกเล่าสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตรป่าสักศึกษาว่า การเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ทำให้พวกเขาได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น จากที่เคยแค่ไป-กลับ โรงเรียน พอมาเข้าร่วมกิจกรรมก็ทำให้ได้สังเกตสิ่งรอบตัวมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เข้าใจกระบวนการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับการใช้งานของคนในย่าน ทำให้สวนถูกใช้งานอย่างเต็มที่ 

การปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้พวกตนมองว่าอยากให้มีการใช้งานที่เกิดประโยชน์ ไม่เป็นแหล่งมั่วสุม คำนึงถึงการใช้งานของคนในย่าน และคนอื่นๆ ที่จะเข้ามาพื้นที่แห่งนี้ เช่น การจัดวางเก้าอี้ การใช้งานสวนแห่งนี้ในเวลาต่างๆ ที่เหมาะสมกับแสงแดดที่พาดผ่าน เรื่องความปลอดภัยทั้งจากคนและสัตว์ เช่น งู เองก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะแถวนี้มีงูค่อนข้างเยอะ รวมถึงการตั้งติดตั้งกล้องวงจรปิดก็เป็นเรื่องที่อยากให้มี เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้งานอย่างปลอดภัยของผู้คน 

ในขณะที่อธิปัตย์ อู่ศิลปกิจ นักวิจัยจากมูลินิธิโลกสีเขียว กล่าวว่า ตนเองรู้สึกแปลกใจมากที่บริเวณนี้มีต้นสักอยู่เยอะ เพราะต้นสักไม่ใช่ต้นไม้ประจำถิ่นของกรุงเทพฯ และสำหรับนักนิเวศแบบตนนั้นก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้คนและสัตว์สามารถอยู่ร่วมกันในสวนแห่งนี้ได้ เพระาพื้นที่ตรงนี้ถือว่าเป็นอุดมสมบูรรืในระดับหนึ่ง และมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก นอกจากต้นสักก็มีนกกว่า 30 สายพันธฺด้วย มีเห็ดนิ้วมือคนตาย 

อีกหนึ่งสิ่งที่อธิปัตย์มองเห็นคือที่นี่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ มีต้นเทียนนา ที่เราไม่ค่อยได้เห็นในกรุงเทพฯ อีกจำพวกคือต้นโทงเทง ถ้าเราไม่ได้อยู่ใกล้น้ำ หรือดินไม่ชื้นจริงๆ เราจะไม่เห็นเลย มันก็สัมพันธ์กับที่ชาวบ้านบอกว่าอยากให้สวนนี้สามารถรับน้ำได้ ทั้งนี้ อธิปัตย์ ยังกล่าวอีกว่าจริงๆ ก็มีเรื่องที่ตนเห็นตรงกันกับคนในพื้นที่อีกหลายเรื่อง เช่น ไม่อยากให้เอาต้นสักออก อยากให้เป็นพื้นที่ใช้ร่วมกันของชุมชน ตนจึงอยากเสริมว่าอยากให้เป็นพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันอย่างสันติระหว่างคนกับสัตว์ เน้นทำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายถึงว่าไม่เห็นด้วยกับการเอางูออก แต่ตนมองว่าเรื่องนี้อาจต้องมองมุมใหม่ ปรับความคิดใหม่ ในเรื่องของการอยู่ร่วมกัน ก็เข้าใจว่ามันก็เป็นเรื่องใหม่พอสมควร 

“ผมดีใจที่เราอยากให้พื้นที่เราเป็นเหมือนเดิม แต่การที่เราจะปรับเปลี่ยนพื้นที่นี้ไม่ได้ถึงว่าเราเอาสิ่งเดิมออก แต่เรากำลังเตรียมสร้างพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้อธิปัตย์กล่าว

ยศพล บุญสม ตัวแทนจากกลุ่ม we! park ได้กล่าวถึงกิจกรรมนี้ว่าเป็นการเริ่มต้นที่จะปลูกต้นไม้สีเขียวไว้ในหัวใจของคนรุ่นใหม่ และเป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้กับเยาวชน รวมถึงคนในย่านได้มาเรียนรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสวนนี้ไปด้วยกัน ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงการดูแลรักษาหลังสวนเสร็จ 

“แทนที่จะเป็นแค่การออกแบบ แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันเลยได้ไหม ไม่ใช่แค่น้องๆ เยาวชน แต่รวมถึงพี่ๆ น้องๆ ในพื้นที่ที่จะเข้ามาเรียนรู้ด้วยกัน ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้จบแค่สวนเสร็จ แต่สวนสามารถเป็นพื้นที่เรียนรู้ต่อเนื่องได้ด้วย เวลาเห็นสวนที่ไหน เราไม่ได้เห็นแค่สวนสีเขียว แต่เราเห็นการเรียรู้ทั้งก่อนและหลัง ซึ่งจะทำให้มีคนเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการนี้เยอะมาก  ซึ่งเราก็อยากให้พื้นที่เรียนรู้นี้มีมากขึ้น ทำให้พื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ และมีความเป็นไปได้อื่นๆ อีกเยอะเลยจากการค่อยๆ เรียนรู้ไปด้วยกัน”

สุดท้ายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวถึงนโยบายในภาพใหญ่ไว้ว่าในอนาคต กรุงเทพฯ ก็มีเป้าหมายในการเป็น Learning City จึงจำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ให้สามารถเป็นที่เรียนรู้ของผู้คนในเมืองได้ และที่สำคัญกว่าการสร้างคือการทำให้พื้นที่เหล่านี้เกิดการใช้งานขึ้นมาจริงๆ ไม่ถูกทิ้งร้างไป กระบวนการมีส่วนร่วมจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้พื้นนที่ต่างๆ นี้มีชีวิตต่อไปได้ 

“มีหลายที่ที่กทมสร้างไว้ในอดีต แล้วไม่เกิดการใช้งาน แต่สุดท้ายแล้วมันอาจจะไม่ตรงกับวิถีชีวิตหรือการใช้งานของผู้คน แต่สวนนี้เริ่มมาจากพี่ๆ ที่อยู่ที่นี่ อีกหน่อยมันอาจจะขยายผลต่อไปได้ จัดดนตรีในสวน ปิกนิก จัดการออกกำลังกาย มีการเรียนรู้นิเวศ เราสามารถจัดกิจกรรมที่สร้างพื้นที่ที่ที่มีชีวิตได้  ซึ่งตอนนี้กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้มาจากกทม. เลย มาจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทั้งนั้นที่ทำให้มันเกิดขึ้น ในทุกๆ กระบวนการและหลายพื้นที่พร้อมกัน ทาง กทม. เองก็อยากทีเวทีลักษณะนี้กระจายอำนาจให้คนเข้ามามีส่วนร่วม กทม. ก็จะสนับสนุุน  ดูแลงบปะมาณ หนุนเสริมร่วมไปกันกับภาคประชาชน” 

 

Photos by Nawin Daengnul
Cover by Warunya Rujeewong
Share :