CITY CRACKER

โลกอนาคตที่ดีมีอยู่จริง เมื่อนวนิยายและเรื่องเล่าช่วยให้เรามองเห็นความเป็นไปได้

เมื่อสิบปีทีแล้ว หลายๆ อย่างที่เราถือ เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่อยู่ในจินตนาการ อยู่ในนวนิยายไซไฟ หรือการ์ตูนเช่นโดเรมอน จนกระทั่งวันหนึ่ง สิ่งของ-วิทยาการ โลกที่เราเพียงจินตนาการถึงก็ค่อยๆ กลายมาเป็นจริง เทคโนโลยีค่อยๆ พัฒนาตามทันความนึกคิด และเรื่องที่เคยเป็นแค่นิยาย

 

จินตนาการและความรู้ เป็นสิ่งทีเดินเคียงกัน ทำไมจินตนาการถึงสำคัญกว่าความรู้-อันนี้ก็แล้วแต่การตีความ แต่ถ้าเราถามว่าอะไรคือพลังของโลกแห่งจินตนาการ โลกของเรื่องเล่า เช่นนิทานและวรรณกรรมต่างๆ พลังสำคัญของจินตนาการอย่างหนึ่งคือการทีเราสามารถมอง ‘นึกฝัน’ ถึง ความเป็นไปได้อย่างไม่มีที่สุด นึกภาพว่าถ้าเราไม่เคยจินตนาการถึงแท็บเล็ต ไม่เคยจินตนาการถึงรถที่บินได้ เราเองก็คงไม่อาจทดลองหรือพัฒนาสิ่งที่เรา ‘จินตนาการ’ ไม่ถึงได้

ในระดับของ โลก- สังคม หรืออนาคตละ เรามีเรื่องเล่า มีจินตนาการกันได้แบบไหน ในสมัยก่อนโน้น เรามีเรืองเล่าแบบยูโทเปียเป็นการมองอนาคตแสนไกลในระดับโลก เป็นเรื่องทางธรรมมากกว่าเรื่องทางโลก ว่าเอ้อ วันหนึ่งนะโลกผุพัง ชีวิตบิดๆ เบี้ยวๆ ของเรานี้มันจะมีสิ่งดีงามรอเราอยู่ ในยุคหลังหลังจากเข้ายุคสมัยใหม่ วรรณกรรมไซไฟเริ่มมองเห็นว่าพลังของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาจไม่ได้พาเราไปสู่ฝั่งฝันตามคำมั่นของวิทยาการ แต่อาจนำไปสู่วิบัติหายนะ เรามีงานเขียนแนว ‘ดิสโทเปีย’ มองเห็นอนาคตที่พังพินาศ และชีวิตมนุษย์ยุคหลังนั้นเต็มไปด้วยความแปลกประหลาดและการกดขี่

ในช่วงศตวรรษที่ 21 ยุคที่เราไหลมาจนเกือบจะถึงสมัยโดเรม่อน เลยมีคนตั้งคำถาม และเสนอว่า เฮ้ย ในยุคแห่งความหดหู่ สิ้นหวัง เราจมอยู่ในทะเลขยะพลาสติกและรอยน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งขั้วโลก เราต้องช่วยกันวาดภาพ ช่วยกันจินตนาการถึงโลกที่เป็นไปได้ผ่านเรืองเล่าและวรรณกรรม จุดนี้เองมั้งที่บางครั้งเราเองไม่ค่อยเชื่อว่าเมืองที่ดีที่นักออกแบบวาดไว้มันจะเป็นไปได้ยังไงเพราะเราเองก็ยังไม่ได้จินตนาการไว้

 

วิกฤติไม่ใช่อนาคต แต่เป็นปัจจุบัน

สิ่งสำคัญของวรรณกรรมไซไฟคือการที่เรามองว่าเป็นเรื่องของอนาคต และงานแนวที่เราแสนจะชอบเสพคือพวกหนังหรือเรืองเล่าว่าด้วยหายนะโลก เราอาจบอกว่าการมองอนาคตอย่างประหวั่นพรั่งพรึงนั้นเป็นเรื่องดีไง เป็นคำเตือนสอนใจ จริงๆอาจใช่แค่ส่วนเดียว แต่สุดท้ายอาจยิ่งทำให้เราตายใจ เพราะเรารู้สึกว่า นั่นไง หายนะจริงๆ คนกลายเป็นซอมบี้ น้ำพัดทะลักโลก มันเป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในอนาคตเท่านัน ในยุคเรายังไม่มีสิ่งนั้นหรอก

การตีความคำว่าวิกฤติและหายนะนั้นสำคัญมาก หายนะอาจไม่ได้ตระการตาเหมือนอย่างที่เราเห็นในภาพยนตร์ และอาจจะไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในอนาคต หนึ่งในไอเดียสำคัญของนักคิดที่เฝ้ามองเรื่องสิ่งแวดล้อม คือการบอกและชี้ให้เรารู้ว่า ยุคสมัยของเรานี่แหละ คือยุคหายนะ และเรากำลังอยู่ในภาวะหายนะ (apocalypse) นันเรียบร้อยแล้ว

คุณแม่ Donna Haraway หนึ่งในผู้ประกาศเรื่องแอนโทรโพซีน เน้นว่าเราอยู่ในยุคหายนะแล้วนะ สิ่งสำคัญคือเราต้องการเรื่องเล่าที่ทำให้เราจินตนาการถึงหายนะทั้งหลายได้อย่างแจ่มแจ้งและถี่ถ้วน- คำว่าเรื่องเล่านี้รวมทุกอย่างทีว่ายเวียนอยู่ตังแต่ข่าวสาร หนัง วรรณกรรม ภาพถ่าย กระทั่งสิ่งที่ล่องลอยอยู่ในโลกออนไลน์ก็นับเป็นเรื่องเล่าที่ต่างร่วมกันให้ภาพโลกกลมๆ เล็กๆ ของเรา

ที่สำคัญคือ คุณแม่บอกว่า เราต้องการเรืองเล่าที่มองไปข้างหน้า ว่าเอ้อ เราจะจินตนาการถึงการข้ามผ่านวิกฤติสิ่งแวดล้อมและสร้างโลกใหม่ขึ้นมาได้ด้วยกัน เป็นเรื่องเล่าที่ซับซ้อน เติบโต และไม่มองโลกในแง่ดีอย่างไร้เดียงสาจนเกินไป

 

Solarpunk

คำว่าพังก์ๆ ทั้งหลาย หมายถึงนวนิยายไซไฟที่มีตีมบางอย่าง ยุคก่อนหน้าเรามี cyberpunk ที่จินตนาการถึงโลกที่แทบจะคล้ายกับยุคปัจจุบัน เป็นดินแดนเทคโนโลยี มีบริษัทยักษใหญ่ การอัพโหลดข้อมูลที่

อาจลงไปถึงระดับเซลล์ในกระแสวรรณกรรมเล็กๆ ของโลกปัจจุบัน ที่นอกจากเราจะวาดอนาคตขุ่นมัวแบบ dystopia แล้ว เรายังมีแนววรรณกรรมเล็กๆ ที่พยายามทำให้เราจินตนาการถึงโลกสีเขียวที่เป็นไปได้

ในช่วงปี 2010 เริ่มมีกระแสงานเขียนก่อนกาล เรียกตัวเองว่าแนว Solarpunk จริงๆ ชื่อถ้าบอกก็พอนึกออก คือเป็นนวนิยายทีจินตนาการถึงโลกอนาคตที่ไม่ใช้พลังงานฟอซซิล เป็นโลกสุขสงบสีเขียวที่มีความอีโค่และยั่งยืน ความเก๋คืองานพวกนี้มาจากหน่วยงานทีใส่ใจเรื่องเขียวๆ และตั้งใจเขียนบันเทิงคดีขึ้นเพื่อส่งเสริมโลกที่ดี เช่น The Weight of Light เป็นรวมเรืองสั้นตีพิมพโดย Arizona State University เป็นเรื่องสั้นทีเน้นการเปลี่ยนจากพลังงานแบบเก่าสู่แบบใหม่ สู่โลกที่ว่าเอ้อ การวางแผนและการใช้เทคโนโลยีที่ดีจะเป็นอย่างไร จะเจอความขัดแย้ง และก้าวผ่านไปสู่โลกสดใสได้อย่างไร

ในแง่นี้การใช้วรรณกรรมก็เลยดูเป็นเรื่องเข้าท่าดี เพราะด้วยตัววรรณกรรมที่ดีมันต้องมีมิติ มีความซับซ้อน มีการวาดเรื่องราวที่ชวนให้เราเชื่อ และแน่นอนว่ามันต้องมีความแย้งบางอย่าง การจินตนาการโลกสวยๆ เป็นเรื่องง่าย แต่ก็ไม่สนุกไง แล้วก็ไม่น่าเชื่อด้วย ถ้าเรืองสมจริง เฮ้ย โลกต้องเจอแบบนี้ เราทำแบบนี้ได้ เออ เป็นไปได้ ไม่ใช่ฝันๆ ดูเมายา เป็นเรื่องแสนไกล

 

พอเรามองแบบนี้ก็เลยดูเหมือนจะกลับมาสู่โลกจริง เวลาเรามีการชวนออกแบบ ชวนมองไปที่โลกอนาคต ถ้าเราอยากให้คนเชื่อเรา แง่หนึ่งก็อาจมีความจำเป็นว่าเราได้มองโลก มองอนาคต ไปแบบที่มันควรเป็น เราได้มองเห็นความซับซ้อน เห็นปัญหาที่จริงจัง รอบด้าน และเห็นกระทั่งปัญหาของสิ่งที่เราวาดและวางไว้เองด้วย ถ้าทำแบบนั้นได้ ความฝันที่มีจึงจะกลายเป็นความฝันส่วนรวม มากกว่าจะเป็นฝันของใครคนเดียว

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

lithub.com

csi.asu.edu

 

cover photo by stefanoboeriarchitetti.net
Share :