CITY CRACKER

ทางเท้า ป้ายรถเมล์ และห้าง 6 วิธีที่เมืองช่วยให้ผู้สูงอายุ เดินมากขึ้น

สังคมสูงวัยคือสิ่งที่เกิดขึ้น และทุกวันนี้หลายครอบครัวเริ่มมีผู้สูงอายุที่ร่างกายอาจค่อยๆ ลดลงตามอายุ ดังนั้นการรักษาสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งผู้สูงอายุและครอบครัว การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้เชื่อมโยงการออกกำลังกายในผู้สูงอายุกับการรักษาสมองและความจำด้วยการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งเป็นเวลาสี่เดือน คำแนะนำเบื้องต้นเพื่อสุขภาพที่ดีกลับมามีความสำคัญอีกครั้ง

แบบฝึกหัดจำนวนมากเกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ในเมือง การออกกำลังกายที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งคือการออกกำลังกายทุกวันโดยการเดินหรือออกไปข้างนอก พื้นที่เมืองและโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบพื้นที่ฐานเรามีอิทธิพลต่อแนวโน้มในกิจกรรมประจำวันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมและท้ายที่สุดคือต้นทุนของบริการด้านสุขภาพในเมือง เห็นภาพเมืองที่เดินปลอดภัย ทางเท้า ปลอดภัยร่มเงาที่เพียงพอจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่กระฉับกระเฉงขึ้น เชิญพ่อแม่ของเราออกมาเคลื่อนไหวร่างกายจนกว่าเราจะพบกัน ลดความเหี่ยวเฉาในชีวิตได้

City Cracker เชิญคุณมาดูข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ทางกายภาพ สภาพแวดล้อมและสภาพเมืองที่จะทำให้ผู้สูงอายุเดินได้มากขึ้น จากการศึกษาเรื่อง The Built Environment and Walking Activity ของผู้สูงอายุจากประเทศจีนที่พบว่าเขตเมืองและระบบสาธารณูปโภคที่เพียงพอส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการเดิน เงื่อนไขทั่วไปมีตั้งแต่ทางเท้า ต้นไม้ที่มีร่มเงา และเงื่อนไขพิเศษ เช่น ห้างสรรพสินค้าที่สามารถเข้าถึงได้ ป้ายรถเมล์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินในหมู่ผู้สูงอายุเท่านั้น สู่กระแสการสร้างสนามเด็กเล่นสำหรับผู้สูงอายุ การจัดตั้ง ‘ชมรมเดิน’ หรือกิจกรรมการศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิทัลและโลกดิจิทัลที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสนุกสนาน ควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวร่างกาย

01 ทางเท้าที่ดีและเพียงพอ

คนจะเดินได้ แน่นอนว่าพื้นที่ต้องดี เมืองที่ผู้คนอยากออกมาเดินเบื้องต้นทางเท้าก็ต้องดีและเพียงพอ แน่นอนว่ายิ่งสำหรับผู้สูงอายุแล้ว คุณภาพทางเท้าเป็นสิ่งที่สำคัญและสัมพันธ์กับสวัสดิภาพและความปลอดภัยของผู้สูงอายุเอง ตัวพื้นที่ทางเท้าที่ออกแบบโดย universal design รองรับการเดิน ไม้เท้า และรถเข็นจึงเป็นพื้นฐานใหม่ของสังคมสูงวัย ในงานวิจัยว่าด้วยพื้นที่เมืองกับการเดินจากประเทศจีนพบว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ที่มีทางเท้าหนาแน่นมาก เดินมากกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ที่มีทางเท้าหนาแน่นน้อยที่สุดราว 41%

02 ความเป็นย่านทำให้ผู้สูงอายุอยากเดิน ความสำคัญของต้นไม้และป้ายรถเมล์

ในงานวิจัยจากประเทศจีนฉบับเดียวกันนั้นพูดถึงเงื่อนไขที่เป็นปัจจัยให้ผู้สูงอายุเดินมากขึ้นที่เราอาจจะสรุปได้ว่าเป็น ‘ความเป็นย่าน’ ที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเดินมากขึ้นหรือไม่ นอกจากทางเท้าแล้ว สิ่งที่นักวิจัยพบคือความหนาแน่นของป้ายรถเมล์ที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุตัดสินใจเดินมากขึ้นพร้อมๆ กับความร่มรื่นหรือความหนาแน่นของพื้นทีสีเขียวในพื้นที่ งานศึกษาพบว่าพื้นที่ที่ร่มรื่นและมีป้ายรถเมล์มากนั้นส่งผลให้ผู้สูงอายุเดินมากขึ้น 12%-23% ภาพที่พิเศษขึ้นคือผู้สูงอายุอาจต้องการจุดเชื่อมต่อเพื่อย่นระยะการเดิน ทำให้การเดินนั้นกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเดินทางในชีวิตประจำวันได้ ถ้าเมืองนั้นร้อนและป้ายรถเมล์อยู่ห่างกันหรือไม่เอื้อให้ใช้งาน แน่นอนว่าการเดินในพื้นที่นั้นๆ ก็คงเป็นไปได้ยาก

03 ห้างร้านและพื้นที่สันทนาการสำคัญกับผู้สูงอายุ

เงื่อนไขพิเศษที่งานวิจัยกล่าถึงเกี่ยวกับปัจจัยการเดินของผู้สูงอายุที่อาจจะต่างกับการส่งเสริมการเดินในวัยอื่นๆ คือการกระจายตัวและการเข้าถึงได้ของพื้นที่ย่านการค้ารวมถึงห้างสรรพสินค้า ส่วนหนึ่งเราอาจเห็นภาพผู้สูงอายุที่มีเวลาและเลือกใช้พื้นที่ห้างในการเป็นทั้งจุดพักและจุดทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ระยะหลังเราอาจเริ่มเห็นปรากฏการณ์ที่ผู้สูงอายุใช้เวลาในช่วงกลางวันอยู่ในห้าง ไม่ว่าจะรับประทานอาหาร เดิ่นเล่นหรือพบปะกับเพื่อนฝูงที่เกษียณแล้ว ในแง่พื้นที่ห้างและย่านการค้าจึงเป็นอีกพื้นที่สำคัญที่ผู้สูงอายุออกมาใช้งานในช่วงเวลาทำงานของคนหนุ่มสาว

04 ‘Senior Playgrounds’ สวนสนุกได้สุขภาพ

การเล่นไม่ใช่แค่เรื่องของเด็ก ยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นแล้วผู้สูงอายุหลายท่านนอกจากจะมีเวลาว่าง ยังเลือกที่จะทำชีวิตให้แข็งแรงด้วยกิจกรรมและความสนุกสนาน อันที่จริง สวนหรือพื้นที่สาธารณะถือเป็น ‘พื้นที่เล่น’ และพื้นที่ชุมชนของผู้สูงอายุมาอย่างเนิ่นนานแล้ว เราเห็นการรวมตัวร้องเพลง เห็นการนั่งเล่นหมากรุก เห็นการรำไทเก็ก จับกลุ่มพูดคุยกัน เมื่อราวปี 2014 นักวิชาการด้านเมืองจากอังกฤษพบว่า สวนสาธารณะที่จีนนอกจากจะเป็นพื้นที่กิจกรรมแล้วยังมีการติดตั้งเครื่องออกกำลังกายสีสันสดใสกลางแจ้ง- แบบที่ค่อนข้างลำลองหน่อยซึ่งเราพบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน พวกเครื่องเดิน เครื่องออกกำลังกาย นักวิขาการพบว่าคนที่ใช้งานกว่าครึ่งเป็นผู้สูงอายุ ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือว่าแตกต่างจากตะวันตกที่ตัวเลขผู้ใช้งานสวนมักมีเพียงราว 15% หลังจากนั้นสวนหลายแห่งของเมืองใหญ่ในยุโรป เช่น ลอนดอน เบอร์ลินก็เริ่มรับเอาแนวทางการออกแบบ senior playground เน้นให้ความมั่นใจและสร้างวัฒนธรรมการออกกำลังกายให้ผู้สูงอายุมาใช้ แต่ที่ยุโรปเครื่องออกกำลังกายอาจจะสีเรียบกว่าหน่อย

05 ส่งเสริมการเดินด้วยสมาคมนักเดิน

ในวารสารวิชาการว่าด้วยการสาธารณสุข Public Health Report เมื่อปี 2015 บทความของนายแพทย์ Vivek H. Murthy ระบุความสำคัญของการเดินและการทำให้ย่านเดินได้สำหรับผู้สูงอายุ ประเด็นหนึ่งที่บทความเน้นย้ำคือการสร้างชุมชนของการเดินเพื่อสร้างกระแสการเดินในชีวิตประจำวันและกระตุ้นการเดินให้กับคนทุกวัย ในบทความนั้นพูดถึงการที่โรงพยาบาลต่างๆ ของสหรัฐ รวมถึงภาครัฐและเอกชนที่มีการร่วมมือและรวมตัวกันจัดกิจกรรมหรือรวมกลุ่มเป็นสมาคมนักเดิน (walk club) ตัวสมาคมและการส่งเสริมดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งที่นิวยอร์ก แมสซาชูเซตส์ และวอร์ชิงตัน ตัวกิจกรรมการเดินก็รวมตั้งแต่การจัดทัวร์เพื่อการเดิน การรวมกลุ่มเดินโดยมีผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล การหาจุดเดินที่เหมาะสม เช่น โรงยิม ลู่รอบสนาม หรือพื้นที่อื่นๆ ของชุมชน ไปจนถึงกิจกรรมที่เรียกว่า mall walk ที่เน้นใช้พื้นที่ห้างเป็นพื้นที่สำหรับการเดินที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพราะทั้งสะอาดและสะดวก

06 อุปกรณ์สวมใส่และโลกดิจิทัลช่วยได้

ข้อมูลขนาดใหญ่และอุปกรณ์ดิจิตอลรวมถึงเกมเป็นสิ่งที่เราสามารถใช้สร้างสุขภาพที่ดีโดยทั่วไป สำหรับผู้สูงอายุ มีการศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพแบบใหม่ เช่น Fitbit หรือ Apple Watch ตัวอย่างเช่น การศึกษาในปี 2018 ที่ตีพิมพ์ใน Sport Sciences for Health พบว่าการใช้เครื่องติดตามฟิตเนสกับระบบออกกำลังกายที่บ้านนั้นคล้ายคลึงกัน มันเป็นเกม 60% ของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ (จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด 20 คน) มีแนวโน้มที่จะออกกำลังกายมากขึ้น และมีหลักฐานว่าสุขภาพโดยรวมดีขึ้น หรือจากการศึกษาโดย American Association of Seniors พบว่า 67% ของผู้สูงอายุได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องติดตามฟิตเนส สู่ระบบร่วมสมัยโดยใช้โลกเสมือนจริงที่ช่วยให้การเล่นเกมช่วยเสริมการออกกำลังกาย

อ้างอิงข้อมูลจาก

mdpi.com

ncbi.nlm.nih.gov

researchgate.net

bbc.com

Illustration by Montree Sommut
Share :