CITY CRACKER

Rain Gardens สวนพิรุณช่วยซับน้ำฝน

สวนพิรุณหรือสวนซับน้ำฝนเกิดจากแนวคิดในการออกแบบพื้นที่สีเขียวที่กระจายอยู่ทั่วไปในเมืองมาจัดการกับ ‘น้ำฝนรอระบาย’ ที่เกินขีดความสามารถในการรองรับของระบบทางวิศวกรรม สวนพิรุณจึงถูกออกแบบเป็นพื้นที่พิเศษที่สามารถซับน้ำฝนลงสู่ใต้ดินร่วมกับสระน้ำและธารน้ำแบบต่างๆ โดยมีพืชพรรณเป็นส่วนประกอบสําคัญในงานภูมิทัศน์และทําหน้าที่พักน้ำชั่วคราวหรือเป็น ‘แก้มลิง’ สวนพิรุณจึงเป็นส่วนประกอบใหม่ที่ทําให้ระบบระบายน้ำแบบธรรมชาติในบริเวณมีความสมบูรณ์ขึ้น

 

มีผู้เรียกแนวคิดของระบบนี้ว่า ‘แนวคิดเขียว-ฟ้า’ (green-blue concept) เป็นระบบที่นอกจากจะลดขนาดระบบท่อทางวิศวกรรมและชะลอการท่วมฉับพลันของพายุฝนแล้วยังช่วยลดปัญหาการชะล้างหน้าดิน ช่วยสร้างความชุ่มชื้นแก่ดิน และบรรเทาปัญหามลพิษต่างๆ ที่มากับน้ำ จากการดูดซับและย่อยสลายของจุลทรีย์ในดินตามระบบรากของพืชพรรณหลากชนิดโดยเฉพาะพืชทนแฉะที่ใช้ปลูกในสวนพิรุณ

แนวคิดการสร้างสวนพิรุณเริ่มในสหรัฐฯ เมื่อประมาณ ๒๕ ปีก่อนในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการสร้างระบบระบายน้ำฝนที่มีข้อบัญญัติบังคับให้กรองเอาตะกอนสิ่งสกปรกและ มลพิษออกก่อนปล่อยลงสู่ระบบระบายน้ำฝนหรือสระสาธารณะ แม้ก่อนหน้านั้นสหรัฐจะใช้ ‘แก้มลิงชีวภาพ’ (bioretaintion pond) แต่เนื่องจากค่าใช้ที่ดินและค่าก่อสร้างสูงกว่าทำให้การสร้างสวนพิรุณได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

wshu.org

 

ความหมายของชื่อ rain gardens หรือ ‘สวนพิรุณ’ โดยข้อเท็จจริงแล้ว เป็นเพียงชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกระบบการชะลอการท่วมฉับพลันของพายุฝนแบบธรรมชาติในงานภูมิทัศน์นั่นเอง ดังนั้น สวนพิรุณจึงอาจใช้เรียกสวนประเภทอื่นๆ เช่นสวนสาธารณะประเภทต่างๆ สวนพฤกษศาสตร์ หรือโครงการภูมิทัศน์ต่างๆ ที่ออกแบบให้สามารถเก็บกัก ชะลอหรือซึมซับฝนที่ตกหนักแบบธรรมชาติไว้ได้ แต่ด้วยปัญหาน้ำฝนท่วมฉับพลันที่รุนแรงขึ้น นักออกแบบและเจ้าของโครงการจึงเห็นถึงประโยชน์เอนกประสงค์และการช่วยลดค่าใช้จ่ายของระบบทางวิศวกรรม สวนพิรุณจึงได้รับความนิยมมากขึ้น

ประเทศไทยมีสวนสาธารณะหลายแห่งที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสวนพิรุณ ทั้งสวนลุมพินี สวนหลวง ร.9 และสวนสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่ได้ออกแบบให้สามารถทําหน้าที่หน่วงน้ำไว้ได้มากพอควร สวนป่าในกรุงที่จัดสร้างโดย ปตท. แม้จะมีขนาดเล็กก็สามารถเก็บกักและซับน้ำได้ดีพอควร สวนที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการออกแบบให้เป็นสวนพิรุณตามแนวคิดใหม่ ได้แก่อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ข้อพิจารณาที่เน้นการรับน้ำฝนฉับพลันจากนอกบริเวณอุทยานไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ส่วนอุทยานเบญจกิติแม้จะสร้างใหม่แต่ก็ไม่ได้ออกแบบให้สามารถช่วยรับน้ําฝนที่ตกหนักไว้ได้ และส่วนใหญ่เป็นลานทึบน้ํา

อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย landprocess.co.th/

 

การออกแบบและก่อสร้างสวนพิรุณ

สวนพิรุณต่อยอดบูรณาการวิธีการออกแบบที่รับน้ำรอระบายหรือแก้มลิงและที่เก็บน้ำในงานภูมิทัศน์เมืองให้เป็นพื้นที่พิเศษให้น้ำฝนที่ตกในพื้นที่โครงการชะลอการไหลและซึม ผ่านระบบกรองธรรมชาติลงสู่ใต้ดินให้มากที่สุด (soil absorption system) โดยเพิ่มองค์ประกอบสําคัญของงานภูมิทัศน์แก่โครงการ  ได้แก่ความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย โดยมีข้อพิจารณาโดยสรุป คือสวนพิรุณควรเป็นพื้นที่บริเวณแอ่งต่ำตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นเพื่อให้น้ำในพื้นที่โครงการสามารถไหลลงได้เอง อาจอยู่ใกล้ปลายท่อระบายน้ําฝนจากหลังคาอาคาร แต่ควรวางให้ห่างจากบริเวณฐานรากที่ไม่ตอกเข็ม หรืออยู่ใกล้ช่องระบายน้ําฝนที่ไหลออกจากลานจอดรถหรือลานผิวแข็งอื่นๆ อาจวางแนวให้เป็นทางน้ําฝนไหลผ่านไปลงแก้มลิง ลงอ่างเก็บน้ำ ทางน้ำสาธารณะเพื่อลดตะกอนและสิ่งแปดเปื้อนจากผิวพื้นของเมือง ในส่วนของพืชพรรณ ควรใช้พืชพื้นถิ่นที่ทนได้ทั้งความแห้งในฤดูแล้งและการท่วมของน้ําในฤดูฝน ควรเป็นไม้พุ่มที่ไม่สูงใหญ่ หรือโตเร็ว มีดอก รูปทรงหรือสีสันที่สวยงามพอควร และใช้ดินที่มีอัตราการซึมน้ำได้มากและเร็วพอควร

 

holemanlandscape.com

 

ปัญหาและโอกาสในการสร้างสวนพิรุณในกรุงเทพฯ และพื้นที่ที่เป็นดินเหนียว

แนวคิดหลักของสวนพิรุณคือการชะลอความเร็วการไหลตามผิวพร้อมกับการกรองและการซึมลงใต้ดิน ดังนั้น พื้นที่ก่อสร้างจึงควรเป็นดินที่ซับน้ำได้ดีพอควร ในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวไม่ซับน้ำ เช่น กรุงเทพฯ จึงต้องอาศัยอ่างรับน้ำหรือสร้างถังพักก่อนปล่อยทิ้ง

ในแง่ธรณีวิทยา ใต้ชั้นดินเหนียวของกรุงเทพฯ มีชั้นทรายหนาแผ่สลับกับชั้นดินเหนียวถึง 3 ชั้น ที่ความลึกผันแปรต่างๆ ตั้งแต่ชั้น 20 เมตร ชั้น 35 เมตร และชั้น 50 เมตรโดยประมาณ ที่หนามากที่สุด เฉพาะที่ชั้นลึก 20 เมตรเป็นทรายหนามากกว่า 10 เมตร ซึ่งชั้นทรายเหล่านี้อาจมีความพรุนที่สามารถ ซับน้ำฝนที่ท่วมฉับพลันได้เป็นอย่างดี ส่วนจะมากน้อยเท่าใดนั้นยังคงต้องทําการสํารวจต่อไป

ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีเพื่อการเจาะหลุมเสาเข็มด้วยเครื่องเจาะขนาดเล็กหรือ ‘micro-piles’ หรือที่นิยมเรียกว่า ‘เข็มสปัน’ แพร่หลายและมีค่าใช้จ่ายถูก จากการสอบถามผู้ประกอบการโดยผู้เขียน พบว่า การเจาะรูหลุมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตรลึก 24 เมตรแล้วใส่ท่อพีวีซี. ถึงชั้นทรายมีค่าใช้จ่าย เพียง 25,000 บาทต่อหลุมรวมค่าท่อ (ราคาเจาะหลุมเดียว) ซึ่งหากเจาะมากหลุม ราคาจะลดลง

 มีความเป็นไปได้สูงในการขจัด ‘น้ําฝนรอระบาย’ ณ จุดท่วมขังตามถนนสําคัญทุกสายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และยังอาจเป็นการชะลอการทรุดตัวของดินในกรุงเทพฯ และเมืองชายฝั่งอื่นๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ ราบดินเหนียวที่มีชั้นทรายอยู่ลึกลงไป เช่น สมุทรปราการและเมืองอื่นที่ตั้งบนที่ราบลุ่มและมีปัญหาการ ระบายน้ําฝนที่ตกหนักแบบฉับพลัน อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังผู้เขียนยังไม่ทราบว่ามีผู้ใดได้ทดลองทําตาม แนวคิดนี้แล้วหรือไม่ หากยังไม่มีก็สมควรที่ราชบัณฑิตยสภาจะสนับสนุนให้มีการทําวิจัยและทดลอง หาก ได้ผล ย่อมเกิดประโยชน์เป็นอย่างสูงในด้านการพัฒนาเมือง

การสืบสานเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดําริทําให้มีการคิดค้นวิธีแก้ปัญหาน้ําท่วมขังพื้นที่ ในฤดูฝน แต่ขาดน้ําในฤดูแล้ง มีผลให้ชาวบันร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องบางหน่วยแนะนําและ ชักชวนให้ชาวบ้านในเขตปกครองท้องถิ่นหลายแห่งทํา ‘ธนาคารน้ํา’ โดยขุดหลุมลึกลงไปในดิน ณ จุด ต่ำของบริเวณปัญหา นำเศษหิน ยางรถยนต์เก่า รวมทั้งขวดน้ําดื่มใส่ลงไปในหลุม ใส่แผ่นกรองแล้ว ปิดทับด้วยกรวดหรือหินขนาดเล็กซึ่งพิสูจน์ว่าได้ผลจากการรับน้ําที่ขังในฤดูฝน และสามารถดูดกลับมาใช้ รดน้ําพืชผลได้ในฤดูแล้ง

ในบางกรณีเป็นการแก้ปัญหาน้ําท่วมขังตามลานคอนกรีตในเมือง มีผู้ที่อ้างว่าเคยถูกน้ําฝนที่ตกหนักท่วมขังเป็นเวลานับสัปดาห์ ธนาคารน้ำนี้สามารถซึมน้ำลงดินหมดได้ในเวลาเป็นชั่วโมง พยานหลักฐานจากการปฏิบัติจริงของชาวบ้าน แม้ไม่ถูกระเบียบวิธีวิจัยก็น่าจะนํามาเป็นสมมุติฐานในการวิจัยอย่างจริงจังได้

postnoname.com

 

ปัญหาน้ําฝนท่วมขังฉับพลันตามถนนสําคัญในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศเกิดถี่และรุนแรงมากตามการ พัฒนาเมืองและสภาพของภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น ก่อความเสียหายและความเดือดร้อนจาก ปัญหาการจราจรติดขัดนับเป็นเวลาคราวละหลายชั่วโมง โดยที่การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการ ระบายน้ําฝนที่นอกจากจะต้องใช้งบประมาณสูงมากและรับน้ําฝนไม่ทันแล้ว ระบบระบายนี้ยังถูกใช้สําหรับ ระบายน้ําประปาที่ใช้แล้วจากอาคารบ้านเรือนจํานวนมหาศาลต่อวันอยู่แล้วอีกด้วย ดังนั้น การสร้างสวน พิรุณไว้ตามพื้นที่สีเขียวที่กระจายอยู่ตามเมืองให้มากที่สุดอาจช่วยลดปัญหาได้บ้าง

กรุงเทพฯ และ พื้นที่ราบภาคกลางมีสภาพดินเป็นดินเหนียวที่น้ําซึมผ่านได้ช้ามาก จึงมีความจําเป็นที่จะต้องสร้างที่เก็บน้ํา เช่น อ่างหรือสระน้ําในพื้นที่ย่อมต้องกินเนื้อที่ดินในเมืองที่มีราคาแพง หรืออาจเลี่ยงไปใช้วิธีสร้างถัง พักน้ําซ่อนไว้ใต้ดินซึ่งก็แพงเช่นกัน ดังนั้น การเจาะหลุมใส่ท่อเพื่อนําน้ําให้ระบายลงสู่ชั้นทรายใต้ดินที่มี ปริมาณมหาศาลด้วยแรงดึงดูดของโลก จึงอาจเป็นวิธีเดียวที่สามารถรับน้ําฝนที่ท่วมฉับพลันตามถนนทั้งหมดได้โดยเร็วด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับการสร้างระบบท่อและอุโมงค์ที่จะต้องสร้างเป็น โครงข่ายเชื่อมโยงให้สมบูรณ์ก่อนจึงจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และเท่าที่ทราบ วิธีการตามแนวคิดนี้ ยังไม่พบว่าประเทศไทยมีการวิจัยและทดลองอย่างเป็นระบบมาก่อน

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

สารสนเทศแนะนําเพื่อศึกษาเพิ่มเติม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อุทยาน ๑๐๐ ปี ของขวัญอันยิ่งใหญ่ให้สังคม,

http://www.cu100.chula.ac.th/อุทยานจุฬาฯ-100-ปี1 Petersen W., lowa Rain Garden Design and Installation Manual, lowa Department of

Agriculture and Land Stewardship-Division of Soil Conservation (IDALS-DSC), Third Printing October 2009 | https://www.nrcs.usda.gov/Internet/FSE DOCUMENTS/nrcs 142p2 007154.pdf retrieved October 2018

Porous City Network, WHY POROSITY? http://www.porouscity.org/ retrieved October 2018

Rainscaping lowa, Rain Gardens, http://www.rainscapingiowa.org/en/rainscapes/rain gardens/

retrieved October 2018

Wikipedia, Rain Garden, https://en.wikipedia.org/wiki/Rain garden retrieved October 2018

 

Content by Professor Emeritus Decha Boonkham
Illustration by Thitaporn Waiudomwut

 

Share :