CITY CRACKER

MEGA Foodwalk ป่าแบบสวีเดนท่ามกลางอากาศแบบกรุงเทพฯ

บ่นกันทุกวันว่ากรุงเทพฯ ร้อน สวนหรือพื้นที่สีเขียวก็มีน้อยแสนจะน้อย หันไปทางไหนก็มีแต่ห้างสรรพสินค้า แต่พอเอาเข้าจริง ในวันที่ร้อนเราคนไทยไม่รู้ไปไหนก็มักจะไปห้างนี่แหละ ระยะหลังเราเริ่มมีห้างสรรพสินค้าที่หน้าตาต่างออกไปจากที่เราคุ้นเคย คือไม่ได้เป็นพื้นที่ปิด ต้องอาศัยเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก แต่เป็นห้างค่อนข้างที่เปิดโล่ง มีพื้นที่สีเขียวๆ รวมเข้าไปอยู่พื้นที่ช้อปปิ้ง

 

หนึ่งในโจทย์- และแน่นอนว่าเป็นคำถามสำคัญในใจ งานออกแบบจะสู้กับอากาศร้อนระดับบ้านเราได้อย่างไร ที่ผ่านมาออกแบบสวนไว้ แต่ก็ไม่มีใครไปใช้ โครงการ MEGA Foodwalk เป็นส่วนต่อขยายที่มีการใช้สถาปัตยกรรมผสานเข้ากับงานออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape Design) เบื้องหลังงานออกแบบนี้อยู่ที่โจทย์ในการจำลองพื้นที่ภูเขาและป่าแบบแสกนดิเนเวียผสมกับความตั้งใจของผู้ออกแบบที่ต้องการทำพื้นที่สีเขียวให้ใช้ได้จริงผ่านการสร้าง ภูมิอากาศขนาดย่อม (micro climate) และสร้างพื้นที่น่าสบายขึ้นมา

MEGA Foodwalk เป็นผลงานออกแบบของ Landscape Collaboration บริษัทภูมิสถาปัตยกรรมที่ให้ความสำคัญกับสวน กับต้นไม้ กับพื้นที่สีเขียว และเป็นผู้ออกแบบภูมิทัศน์ให้กับห้างในสวน เช่นเซ็นทรัล อีสต์ วิลล์ หรือในส่วนต่อขยายของเมกกะบางนาคือ MEGA Food Walk และ MEGA Park

 

Småland ดินแดนจากแสกนดิเนเวีย

โจทยสำคัญในการออกแบบ MEGA Foodwalk คือการสร้างป่าและภูเขามอสจากป่า Småland สวีเดนให้กลายเป็นสวนป่าเขตร้อน ด้วยโจทย์ที่ดูท้าทายนี้ ผู้ออกแบบจึงสร้างอาคารและออกแบบพื้นที่ให้เป็นเสมือนภูเขาที่โอบสวนแบบแสกนดิเนเวียร์พร้อมสายน้ำลำธารเอาไว้ การสร้างพื้นที่นี้จึงเป็นการผสานงานออกแบบภูมิทัศน์ผนวกเข้ากับการออกแบบทางสถาปัตยกรรม เป็นการสร้างพื้นที่ที่ผู้มาเยือนจะรู้สึกเหมือนได้เดินเข้าสู่พื้นที่สวนที่สบาย สงบและเย็น เป็นการออกแบบที่รวมเอาทั้งต้นไม้ สายน้ำ และเนินรวมเข้าไว้ในประสบการณ์เดียวกัน

 

สร้าง Micro Climate ขึ้นใหม่

เพื่อสร้างพื้นที่นอกอาคารที่ใช้ได้จริง และตอบกับหนึ่งในโจทย์สำคัญคือการเนรมิตรภูเขามอสขึ้นกลางสภาวะอากาศแบบกรุงเทพ การสร้างภูมิอากาศจำลองจึงเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบพื้นที่น่าสบาย (comfort space) การจำลองภูมิอากาศเป็นการรวมศาสตร์ในการออกแบบทั้งสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์เข้ากับงานทางวิศวกรรม นอกจากต้นไม้น้ำยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างภูมิอากาศพิเศษขึ้น เราจึงเห็นการออกแบบที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ในพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการใช้ระบบหมุนเวียนน้ำเย็นเข้าสู่พื้นที่ มีการติดตั้งระบบน้ำเย็นจากโซลาร์เซลล์แล้วจึงป้อนเข้าสู่พื้นที่เพื่อควบคุมอุณหภูมิ ไปจนถึงการใช้ระบบละอองน้ำ
ในพื้นที่ใช้งานจะมีการวางระบบพิเศษไว้เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่สบายทั้งกับตัวผู้ใช้งานและต้นไม้ หนึ่งในความสำเร็จสำคัญคือการสร้างภูเขาที่ปลูกมอสได้สำเร็จด้วยระบบความชื้นที่เหมาะสม

ภูมิทัศน์ในงานสถาปัตยกรรม

งานออกแบบพื้นที่เป็นการรวมกันของสถาปัตยกรรมและงานออกแบบภูมิทัศน์เข้าด้วยกัน ด้วยคอนเซ็ปต์หุบเขาและป่า งานออกแบบจึงเน้นสร้างประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่เสมือนได้เดินเข้าสู่พื้นที่ธรรมชาติ การเดินไปตามทางเดินคดเคี้ยวจึงเหมือนได้เดินไปตามลำธารพร้อมๆ กับการมีต้นไม้น้อยใหญ่ระหว่างทางเดินยาวๆ การเลือกต้นไม้ในโครงการมีตั้งแต่ไม้ใหญ่เช่น ขานาง ไปจนถึงเฟิร์นและไม้มีดอก ด้วยแนวคิดสร้างป่า ตัวต้นไม้ในโครงการจึงเน้นไปที่การสร้างระบบนิเวศที่ต้นไม้สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีการดูแลรักษามากนั

 

ภูมิทัศน์ในงานสถาปัตยกรรม

งานออกแบบพื้นที่เป็นการรวมกันของสถาปัตยกรรมและงานออกแบบภูมิทัศน์เข้าด้วยกัน ด้วยคอนเซ็ปต์หุบเขาและป่า งานออกแบบจึงเน้นสร้างประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่เสมือนได้เดินเข้าสู่พื้นที่ธรรมชาติ การเดินไปตามทางเดินคดเคี้ยวจึงเหมือนได้เดินไปตามลำธารพร้อมๆ กับการมีต้นไม้น้อยใหญ่ระหว่างทางเดินยาวๆ การเลือกต้นไม้ในโครงการมีตั้งแต่ไม้ใหญ่เช่น ขานาง ไปจนถึงเฟิร์นและไม้มีดอก ด้วยแนวคิดสร้างป่า ตัวต้นไม้ในโครงการจึงเน้นไปที่การสร้างระบบนิเวศที่ต้นไม้สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีการดูแลรักษามากนั

 

ต้นไม้และการลงทุน

ตัวโครงการนี้มีความพิเศษจากความหลงใหลในต้นไม้ของเจ้าของโครงการ มีการเลือกต้นไม้หายากประกอบกับต้นไม้ที่หลากหลาย ต้นไม้ดอกและพืชพรรณบางประเภทเริ่มดึงดูดแมลงบางชนิดเข้ามากลายเป็นระบบนิเวศพิเศษภายในห้าง หนึ่งในวิธีคิดสำคัญของการลงทุนสร้างงานสถาปัตยกรรมและป่าขึ้นภายในห้าง คือการมองว่าต้นไม้เป็นการลงทุน เป็นการเพิ่มศักยภาพและมูลค่าให้กับที่ดิน ในแง่ของการออกแบบภูมิทัศน์เป็นการชักชวนผู้คนมารับรู้และสนุกสนานไปกับพื้นที่สีเขียวๆ แม้ว่าจะอยู่ในเมืองใหญ่ก็ตาม

 

Photos by Landscape Collaboration

 

Share :