คุณยังมีความหวังจะซื้อบ้านกันอยู่หรือเปล่า พูดไปก็รู้สึกแสนเศร้าแต่ชีวิตทุกวันนี้มันก็ประมาณนี้แหละเนอะทำงานไปเรื่อยๆอยู่เป็นโสดไปวันๆบ้านก็แพงเก็บเงินไว้ซื้อประกันเตรียมเกษียณก็เต็มกลืนแล้วคู่แต่งงานรุ่นใหม่ๆจะมีลูกก็คิดแล้วคิดอีกไม่ใช่แค่เรื่องค่าใช่จ่ายแต่ไหนจะปัญหารายรอบอีกสารพัดโลกร้อนมั่งความขัดแย้งมั่งมันก็ประมาณนี้แหละ
ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไปเยอะไอ้ความฝันแบบยุค 90 ภาพโฆษณาประกันชีวิตในทีวีจอแก้วตั้งใจทำงานเก็บเงินสร้างครอบครัวเลี้ยงลูกเลี้ยงหมาดูจะเริ่มค่อยๆหดหายและเป็นไปได้ยากขึ้นทุกวันที่ดินก็แพงค่าใช้จ่ายยุบยับไหนจะเมืองคนเหงาคนรุ่นใหม่แต่งงานน้อยลงมีลูกน้อยลงคำว่า‘ครอบครัว’ เริ่มมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆจากครอบครัวขยายกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวขนาดครอบครัวเดี่ยวที่เคยมีพ่อแม่ลูกก็เริ่มหลากหลายมากขึ้นเริ่มมีความสัมพันธ์แบบคู่ชีวิตมีอิสระต่อกันคำว่าบ้านเองก็เริ่มเปลี่ยนหน้าตาไปตามไลฟ์สไตล์และความจำเป็น
สำหรับบ้านเราอาจจะไม่คุ้นกับแนวคิดเรื่อง Co Housing นักแต่เชื่อว่าเราเองอาจจะเคยคุยเล่นกับเพื่อนๆว่าถ้าวันหนึ่งแก่ตัวไปเราหวังว่าจะไปสร้างชุมชนเล็กๆไปปลูกบ้านแล้วอยู่ด้วยกันจริงๆ Co Housing ก็มีลักษณะทำนองเดียวกันคือเป็นการสร้างบ้านโดยที่ใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกันแต่ละคนมีพื้นที่ส่วนตัวแยกเป็นสัดส่วนแต่จะมาใช้พื้นที่เช่นห้องนั่งเล่นมาทำอาหารซักรีดและแชร์ค่าใช้จ่ายบางอย่างร่วมกันฟังดูเป็นการเปลี่ยนแนวคิดเรื่อง‘ครอบครัว’ ที่หนึ่งบ้านเคยมีครอบครัวเดียวคราวนี้กลับมีเพื่อนฝูงกระทั่งคนแปลกหน้าเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
แนวคิดเรื่องบ้านและครอบครัวเป็นเรื่องของโลกสมัยใหม่
แนวคิดเรื่องบ้านที่มีพ่อแม่ลูกมีองค์ประกอบทั้งที่เป็นกายภาพมีที่ดินมีอดีตมีความทรงจำและเป็นพื้นที่เฉพาะของครอบครัวๆหนึ่งที่ฟังดูน่าจะเป็นธรรมดาของมนุษย์นั้นอาจจะเป็นแนวคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่โดยเฉพาะเมื่อมีระบบทุนนิยมและชนชั้นกลางที่ค่อยๆก่อตัวขึ้นพร้อมกับความมั่งคั่งจนสามารถแยกตัวสร้างเป็นครอบครัวเดี่ยวได้
บทความของThe Atlantic อ้างอิงหนังสือA World of Their Own Making: Myth, Ritual, and the Quest for Family Values ของJohn Gillis นักประวัติศาสตร์ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี1997 ตั้งข้อสังเกตว่าแนวคิดเรื่องบ้านที่ยึดโยงกับครอบครัวเดี่ยวนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่และไม่ได้ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมทั่วไปของโลกใบนี้แกอ้างกลับไปยังยุคต้นของมวลมนุษย์ที่ยังเข้าป่าล่าสัตว์แน่นอนว่า‘บ้าน’ ในยุคนั้นคือการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่มีการโยกย้ายไปตามภูมิประเทศต่างๆการล่านั้นต้องทำโดยร่วมแรงกันไม่ใช่เรื่องการทำมาหากินและสร้างความมั่นคงมั่งคั่งโดยบ้านหรือครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง
John Gillis เลยชี้กลับมาที่ยุคกลางอันเป็นยุคที่อยู่กึ่งๆระหว่างโลกปัจจุบันและยุคหาของป่าคุณจอห์นบอกว่าแน่ล่ะว่ายุคนั้นนะบ้านช่องมันก็แพงเป็นไปไม่ได้แน่ๆที่ครอบครัวหนึ่งจะสามารถสร้างบ้านไว้อยู่อาศัยเพียงลำพังได้บ้านในยุคนั้นจึงมีลักษณะเป็นCommunal Housing
บ้านในยุคกลางจึงมักประกอบขึ้นด้วยผู้คนมากมายบางครั้งก็เป็นคนแปลกหน้าในบ้านหลังนอกจากจะมีพ่อแม่ลูกแล้วยังอาจจะประกอบด้วยคู่แต่งงานที่จนๆหน่อยครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวพ่อม่ายแม่ม่ายลูกกำพร้าชาวเมืองคนชราที่ไม่ได้เป็นญาติโกโหติกาคนรับใช้กระทั่งแขกที่มาอยู่ยาวๆเป็นต้น
ก่อนที่เราจะมีแนวคิดเรื่องทรัพย์สินส่วนบุคคล(private property) อันเป็นแนวคิดสำคัญหนึ่งของโลกทุนนิยมในสมัยก่อนเจ้าของบ้านและสารพัดชาวบ้านมักจะมองพื้นที่บ้านนี้เป็นเหมือนทรัพย์สินส่วนรวม(public property) ผู้เขียนอธิบายว่าผู้คนในยุคนั้นมองบ้านว่าเป็นที่พักชั่วคราวไม่ได้มีแนวคิดเรื่องรากและประวัติศาสตร์หรือความทรงจำวัยเด็กแต่อย่างใดการใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนมากมายการเข้าออกและบางครั้งก็มีคนที่เราไม่รู้จักปรากฏตัวขึ้นภายใต้ชายคาเดียวกันในยุคนั้นก็ถือความอบอุ่นของบ้านที่เราอาจจะจินตนาการไม่ออกในทุกวันนี้
ถ้ามองมาที่แถวบ้านเราก็อาจมีลักษณะใกล้เคียงกันในแง่ว่าบ้านในสมัยก่อนหมายถึงเพิงพักหรือที่อยู่ใกล้ๆที่ทำกินเป็นที่ของครัวขยายที่มีขนาดใหญ่มากมีผู้คนมากหน้าหลายตาหลายสถานะอยู่ร่วมเลี้ยงดูบริบาลปกครองดูแลกันไป
หรือเราจะถึงยุคที่แนวคิดเรื่องบ้านกำลังเปลี่ยนไปอีกครั้ง
ประเด็นสำคัญคือแนวคิดเรื่องบ้านเรื่องการอยู่อาศัยเป็นเรื่องทางวัฒนธรรมคือเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตามเงื่อนไขการใช้ชีวิตและช่วงเวลาทุกวันนี้ในบางประเทศเริ่มมีการเปลี่ยนแนวคิดของบ้านหลังจากเทรนเรื่องการแชร์การใช้ร่วมกำลังมาแรงจากCo Working Space คราวนี้เริ่มไปไกลขึ้นว่าเอ้อคนรุ่นใหม่ไหนๆจะซื้อบ้านเองโสดเหงาครอบครัวไม่มีชอบเรื่องความคุ้มค่าทำไมเราไม่ย้ายมาอยู่ด้วยกันเป็นCo-Living หรือใช้บ้านร่วมกัน(co housing)ซะเลยล่ะ
ด้วยเหตุผลที่อ่านแล้วก็ต้องพยักหน้าว่าทำไมเราซื้อบ้านไม่ไหวเช่นดาวน์ไม่ไหวผ่อนไม่ไหวเช่าเอาถูกกว่าทายาทไม่มีคนรุ่นใหม่ไม่ติดกับพื้นที่เตรียมย้ายออกบ่อยๆไปจนถึงมิติทางความสะดวกสบายทำให้ในโลกนี้เริ่มมีกิจการCo-Living เกิดขึ้นหลายรูปแบบบางบ้านมีลักษะคล้ายหอพักพร้อมบริการที่เอาการแชร์มาช่วยลดรายจ่ายและมอบประสบการณ์พิเศษบางอย่างให้เช่นMilagro Housing ที่อริโซนาก็เป็นชุมชนเล็กๆที่ประกอบด้วย28 ครัวเรือนแต่ละยูนิตอยู่แยกเป็นส่วนตัวก็จริงแต่ก็มีการบริหารพื้นที่ส่วนกลางใช้ครัวซักรีดห้องประชุมร่วมกัน
หรือถ้าเป็นโครงการที่ก้าวหน้าไปอีกเช่นโครงการHaven ในแคลิฟอเนียโครงการทำเลสวยโลเคชั่นดีใกล้ทะเลและพื้นที่ที่ควรจะแสนแพงนี้ด้วยตัวโครงการคล้ายๆเราไปเช่าโฮสเทลระยะยาวมีที่นอนให้แต่ใช้พื้นที่ส่วนรวมร่วมกันทำให้ค่าเช่าลดลงเหลือพันเหรียญโดยตัวโครงการก็แลกความเป็นส่วนตัวเข้ากับ
การเป็นชุมชนผองเพื่อนคือมีบริการเครื่องนอนให้ในขณะเดียวกันก็บริหารกิจกรรมเพื่อสุขภาพเช่นมีเชฟทำอาหารมีครูสอนโยคะบริการทั้งหมดนี้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มีอิสรภาพสุดๆคือมีที่นอนมีบริการพิเศษตามความเหมาะสมพร้อมจะย้ายไปทำงานใช้ชีวิตต่อที่ไหนก็ได้
ฟังดูว่าต้องไปอยู่กับคนมากหน้าหลายตามีคนเข้าคนออกใช้พื้นที่ต่างๆร่วมกันถ้าเป็นสิบปีก่อนเราคงจะจินตนาการไม่ออกเนอะแต่ทุกวันนี้เราเองคงเคยไปนอนโฮสเทลไปกินข้าวล้างจานนั่งคุยเล่นแล้วแยกไปนอนส่วนตัวก็อาจจะรู้สึกว่าหรือถ้าอยู่แบบนั้นยาวๆก็เป็นไปได้Co-Housing ที่ดูเป็นเรื่องน่าประหลาดใจในบางประเทศเช่นเดนมาร์กดินแดนต้นกำเนิดของการใช้บ้านร่วมจากที่เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปี1970 ทุกวันนี้ที่เดนมาร์กมีชุมชนบ้านร่วมกันกว่า700 ชุมชนหลังจากนั้นสวีเดนประเทศใกล้เคียงก็เริ่มรับแนวคิดนี้ไปเช่นบ้านรัฐที่ใช้โมเดลทำนองเดียวกันนอกจากนี้ทั่วโลกก็เริ่มเกิดการใช้โมเดลบ้านร่วมในรูปแบบต่างๆกันเช่นดึงเอาคนสูงอายุมาอยู่ชุมชนร่วมกับวัยรุ่นหรือนักศึกษาเพื่อต่างคนต่างดูแลและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
จะว่าไปชุมชนดั้งเดิมของบ้านเราหลายครั้งเราเองก็พบว่าในบ้านหนึ่งหลังโดยเฉพาะที่มีการประกอบกิจการร่วมเรามักพบการอยู่ร่วมชายคาเดียวกันทำงานร่วมกันโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีสายเลือดเดียวกันสำหรับประเด็นเรื่องบ้านด้วยข้อจำกัดความสร้างสรรค์และการบริหารทรัพยากรยุคใหม่เราเองอาจจะเริ่มได้เห็นการใช้ชีวิตร่วมกันในรูปแบบใหม่ที่ในรั้วหรือใต้หลังคาเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีสายเลือดหรือความเป็นญาติมากำกับอีกต่อไป
อ้างอิงข้อมูลจาก
- Vanat Putnark
Writer