CITY CRACKER

7 Megatrends 5 Scenarios มองอนาคตกรุงเทพและเมืองใกล้เคียงในปี 2050 กับ FutureTales Lab

เราดำรงอยู่กับความไม่แน่นอนและโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ชีวิตประจำวันแวดล้อมไปด้วยปัญหา ทั้งมลพิษฝุ่น น้ำท่วม ภัยธรรมชาติ การขยายตัวของเมือง การเติบโตของประชากรอย่างไร้ขีดจำกัด การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สุงอายุ หรือจะปัญหาโรคระบาดที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงเมืองของเรามากว่าสองสามปี และแน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน ทั้งด้านการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียนรู้ และทุกๆ มิติของเมืองเรา 

ภายใต้ความไม่แน่นอนของปัญหามากมาย สิ่งสำคัญของการดำรงอยู่จึงอาจต้องมีการวางแผน คือออกแบบเมืองที่ดีเพื่ออนาคต และด้วยเมืองนั้นมีหลากหลายมิติ ไม่ใช่แค่มิติใดมิติหนึ่ง แต่คือทุกองคาพยพของเมือง การคาดการณ์อนาคตข้างหน้าจึงไม่ใช่เฉพาะการแก้ปัญหาหนึ่งปัญหาใด แต่คือการมองทุกมิติไปพร้อมๆ กัน และแก้ปัญหาเหล่านั้นไปด้วยกัน ทั้งในมิติของคน โครงสร้างพื้นฐาน ไปจนถึงเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ 

ล่าสุด FutureTales Lab ได้ศึกษาอนาคตกรุงเทพฯ และเมืองใกล้เคียงในปี 2050  ในชื่อ Future of Urbanisation Scenarios for Greater Bangkok 2050 ของ FutureTales Lab เพื่อคาดการณ์อนาคตสำหรับเป็นแนวทางออกแบบเมืองให้ตอบโจทย์ความเป็นอยู่ของคนทุกกลุ่ม ของทุกสิ่งมีชีวิต City Cracker จึงได้ชวน วิพัตรา โตเต็มโชคชัยการ นักวิจัยด้านการคาดการณ์อนาคต FutureTales Lab by MQDC มาพูดคุยถึงภาพในอีก 30 ปีข้างหน้า และเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับอนาคตที่จะถึง

 

กระบวนการวิจัย Future of Urbanisation Scenarios for Greater Bangkok 2050

“การศึกษางานวิจัยชิ้นนี้จะโฟกัสทั้งอนาคตกรุงเทพ ปริมณฑล และพื้นที่ EEC ซึ่งหมายถึงพื้นที่ทั้งหมด 150 ตารางกิโลเมตร เริ่มจากกรอบการทำงานที่ให้ความสำคัญทั้งหมด 3 เรื่อง เรื่องแรกจะเกี่ยวกับคน คือ Sustain, Live, Work, Learn, Play หรือการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียนรู้ การพักผ่อน ว่าจะเป็นยังไงความยั่งยืนจะเป็นยังไง เรื่องต่อมาคือโครงสร้างพื้นฐานของเมือง และ mobility ต่างๆ ใหญ่กว่านั้นเรื่องที่สามคือ Nature and biodiversity จะคำนึงถึงความหลากหลายของชีวภาพและสภาพแวดล้อมต่างๆ จะเป็นอย่างไร”

“งานวิจัยชิ้น Future of Urbanisation Scenarios for Greater Bangkok 2050 สำหรับทีมวิจัยเวลาจะศึกษาอะไรจะมีเครื่องมือที่เรียกว่า look back to look forward จะมองกลับไปก่อนว่าในมิติสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และนโยบายต่างๆ รวมถึงทัศนคติ ความคิด ความเชื่อของผู้คนว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง จากนั้นก็มองถึงปัจจุบันว่ามีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่อาจจะส่งผลต่ออนาคตของเมืองในอีก 2050”

“หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยก็ใช้วิธี Horizon scanning สแกนในทุกๆ มุม ทุกๆ มิติ มีการจัดเวิร์กช็อป ให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนร่วมกับการพัฒนาเมือง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการช่วยตรวจสอบว่าสัญญาณที่พวกเรารวมมาอันไหนจะมีผลกระทบสูง หรือน่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีผลกระทบในอีก 5 ปี 10 ปีต่อจากนี้ หรืออะไรที่มีความไม่แน่นอนสูง เพราะความไม่แน่นอนสูงอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้อนาคตเปลี่ยนไปในรูปแบบที่แตกต่างได้”

“จากการจัดเวิร์กช็อปเราได้าพัฒนาออกมาเป็น 7 เมกะเทรนด์ เมื่อเราเห็นเมกะเทรนด์ของอนาคตของเมืองเป็นแบบ แล้วอะไรคือปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ภาพอนาคตเป็นไปในทิศทางใด และพัฒนาต่อเป็น 5 ภาพ คือ Technotopia, Urban Playground, Decentralised Resilience, Accelerated Generations and Transforming Lifestyle”

 

7 Megatrends ของเมืองแห่งอนาคต

“เมกะเทรนด์นี้จะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่ออนาคตของเมือง เมกะเทรนด์แรกคือ Wellbeing for All จะเป็นเรื่องปัญหาต่างๆ เช่น สภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ความกังวลเรื่องสุขภาพและสภาพแวดล้อม ไปจนถึงสถิติในเด็กไทยที่จากการสำรวจพบว่า เด็กรุ่นใหม่ยิ่งเห็นความสำคัญของการ work life balance เราจะต้องให้ความสำคัญกับการพักผ่อน ฉะนั้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็จะช่วยซัพพอร์ตการคำนึงถึงสุขภาวะของทุกสิ่งมีชีวิตมากขึ้น”  

westend61.de

 

“เมกะเทรนด์สองคือ Wise Nation หรือว่าเป็นประเทศที่ชาญฉลาด อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นซึ่งทำให้ส่งผลต่อเรื่องเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อแรงงาน และการเติบโตจีดีพี 0.75% ขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาวะของรัฐบาล โดยในปี 2019-2022 นั้นเพิ่มขึ้น 4 เท่า และอนาคตอาจเพิ่มมากขึ้น”

“ในระดับนโยบายต่างๆ จึงมีการพยายามเพิ่มแรงงานสูงวัย เพราะศักยภาพและความสามารถที่ผู้สูงอายุมีทั้งความรู้ ประสบการณ์ และ soft skill นั้นมีประโยชน์มาก ขณะเดียวกันถ้าเราโปรโมต lifelong learning ให้ดี ประสบการณ์หรือองค์ความรู้ต่างๆ ของผู้สูงอายุจะมาเติมเต็มเด็กรุ่นใหม่ได้มากเช่นกัน แต่นี้ไม่ได้บอกว่าเป็นทิศทางที่ดีเท่านั้น อาจแย่ก็ได้หาก lifelong learning ของประเทศไทยไม่ได้ส่งผลการจะเป็นประเทศที่ชาญฉลาดอาจไม่เกิด”

salika.co

 

“เมกะเทรนด์ที่สามคือ Data Dominance การเพิ่มขึ้นของ tech company และความปลอดภัยของข้อมูล ปัจจุบันเราเป็น internet of thing ก็จะเปลี่ยนเป็น internet of anything คือข้อมูลจะมีอิทธิพลมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องดูเรื่องความปลอดภัยด้วย แต่จริงๆ มันมีประโยชน์ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างมาก ทั้งการเป็น smart city หรือว่าเทคโนโลยีต่างๆ ถ้ามีการพัฒนาก็จะช่วยให้เมืองพัฒนาไปด้วย”

 

“เมกะเทรนด์ที่สี่คือ Platform transparency ทุกวันนี้ทั่วโลกมีการประท้วงเพิ่มมากขึ้น ทุกคนกังวลกกับนโยบายรัฐบาล การดำเนินการในองค์กรที่ทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจ อนาคตก็จะมีสิ่งที่มาช่วยได้ อย่างเทคโนโลยี บล็อกเชน เอไอ ที่จะมาช่วยสร้างความโปร่งใสให้กับแพลตฟอร์ม ทำให้รัฐบาลหรือองค์กรต่างๆ สามารถพัฒนาได้อย่างมีส่วนร่วม เราจะได้เจอกับความต้องการของประชาชน ได้สร้างเอนเกตเมนต์ของคนในเมือง ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการพัฒนาเมืองแบบ bottom up ที่ไม่ใช่แค่ top-down”

techtalkthai.com

 

“เมกะเทรนด์ที่ห้าคือ Waste to Jobs คือเรื่องปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม ในเทรนด์นี้อาจจะแย่ก็ได้ถ้าเราบริหารจัดการไม่ดี เพราะทุกวันนี้เราเป็นประเทศท็อปๆ ของโลกที่มีขยะพลาสติกและเป็นผู้ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ ของโลก แต่ในปัญหาก็โอกาสอยู่ในนั้น คือมีข้อดีที่อาจพัฒนาเศรษฐกิจได้ถึง 324 ล้าน แล้วก็สร้างงานได้กว่า 1.5 ล้านงานภายในปี 2042”

democratandchronicle.com

 

“เมะกะเทรนด์ที่หก คือ Health holiday ก่อนโควิดประเทศไทยโดดเด่นมาก คือเรามีจำนวนนักท่องเที่ยวเยอะมากๆ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาจะเป็นมาเพื่อพักผ่อนและเรื่องของเอนเตอร์เทรนเมนต์ ในอนาคตคนอาจจะอยากหาที่อยู่อาศัยตอนเกษียณ ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สนใจเรื่องมากขึ้น เป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เป็น eco wellbeing industry ก็คือทั้ง health tourism หรือว่างาน การเพิ่มมทักษะการบริการ หรือการสร้างอัตลักษณ์ของเมืองของย่านให้รู้สึกว่ามาพักผ่อนสุขภาพกาย สุขภาพใจ ทำให้ต่างชาตินึกถึงเมืองไทยมากขึ้น หรือแม้กระทั่งคนไทยเอง”

theinertia.com

 

“เมกะเทรนด์สุดท้ายคือ Village harmony ความประสานกลมเกลียวกันของชุมชน แม้ว่าประชากรจะเพิ่มขึ้นและการเพิ่มขึ้นของสิ่งต่างๆ ในเมือง ทั้งรถติด สิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ ทำให้คนเริ่มมองหาที่อยู่ต่างจังหวัดและพื้นที่อื่นๆ ในส่วนนี้ที่เป็นพื้นที่ต่างจังหวัดอาจต้องพัฒนาเพิ่ม เพราะก็ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ได้ และช่วยลดการกระจุกตัวในเมืองหลวง”

 

5 scenarios ของเมืองแห่งอนาคต 

“Scenarios แรกคือ technopia เป็นปัจจัยขับเคลื่อนระบบอัตโนมัติ รวมถึงการเดินทางในภูมิภาค การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยี การพัฒนาเทคฯ ของบริษัทใหญ่ๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดนการใช้เทคโนโลยีในเมืองที่เยอะขึ้น สิ่งที่ future tales lab นำเสนอคือ 2050 แต่ว่าเราได้กลับมาดูก่อนว่า 2030 เมืองไทยควรจะทำอะไรบ้าง เพราะหากเกิดสิ่งนี้จริง เราไม่ได้กระจายความเจริญออกไปนอกเมืองมากนัก กรุงเทพอาจมีการกระจุกกันของผู้คคนมากถึง 25 ล้านคนได้ แต่ถ้าเราทำได้ดีภายในปี 2050 ประเทศไทยก็จะกลายเป็นหนึ่งในเอเชีย business hub”  

idft.ru

 

“Scenario ที่สองคือ Urban playground ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญคือผู้คนที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น แอคทีฟไลฟสไตล์ของคนทุกช่วงวัยมากขึ้น ในเรื่องการพัฒนาเมืองมีการออกแบบพื้นที่ให้คนได้ออกกำลังกายได้ ดูแลสุขภาพตนเองได้ มีการอัพสกิลเพื่อเตรียมดึงดูดนักท่องเที่ยว ปัจจัยขับเคลื่อนเหล่านี้ภายในปี 2030 เราควรที่จะโปรโมต wellbeing ของ city residents ทุกวันนี้อายุขัยของมนุษย์เพิ่มมากขึ้น แต่ปัจจัยความเสี่ยงหรือมลพิษต่างๆ อาจทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ถ้าเราทำได้ดีก็จะสามารถดึงดูดผู้คนทั่วโลกได้”

“นอกจากนี้ urban playgrounds จะเน้นเรื่อง universal design เป็นหลัก ซึ่งต้องพึ่งนโยบายที่มองรอบ ต้องมองอนาคตให้ออกว่าจะไปทางไหน และค่อยพัฒนาแผนนโยบายต่างๆ เช่น อยากพัฒนาประชากรให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี การออกแบบพื้นที่ในเมืองมีสนามกีฬาที่ส่งเสริมสุขภาพอาจไม่เพียงพอ อาจต้องออกแบบเมืองที่ไปสู่การเป็นเมืองเดินได้ ทำให้ทุกๆ กิจวัตรประจำวันของผู้คนสามารถมีสุขภาพดีส่งเสริมเขาได้ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมต่อด้านสภาพแวดล้อม”

irishtimes.com

 

“Scenario ที่สามคือ Decentralised Resilience จะเป็นมิติของสภาพแวดล้อม ถ้าหากว่าเกิดน้ำท่วม น้ำทะเลขึ้นสูง หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้น เราอาจจะเกิดการย้ายเมืองหลวงหากกรุงเทพไม่สามารถดำรงอยู่ได้ หรือกลายเป็นเมืองเก่าที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ในอนาคตเราจึงต้องสร้างเมืองที่ mixed-use ใช้พื้นที่แบบผสมผสาน เพราะถ้าพื้นที่จำกัดลง การสร้างพื้นที่ที่เราจะสามารถใช้พื้นที่ที่มีจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็เป็นสิ่งจำเป็น การทั่งออกแบบให้เมืองเป็น resilience city ในปี 2050 คือเป็นเมืองที่ยืดหยุ่นรองรับการลี่ยนแปลงต่างๆ ได้”

phsproperty.com

 

“Scenario ที่สี่ Transforming Lifestyles คือการปลี่ยนวิถีชีวิต นักท่องเที่ยวต่างชาติจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมว่ามันจะช่วยสร้างการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการเพิ่มสกิล เมื่อเกิดภาพแบบนี้เราเลยที่จะพัฒนาสกิล และวางกลยุทธ์ที่จะโปรโมตให้พวกเราเป็นกรีนเมกะซิตตี้ที่สามารถพักผ่อนทั้งทางกายและทางใจได้ ปี 2050 เราจะสามารถดึงดูดชาวต่างชาติ และกลายเป็น wellbeing and learning city ได้ แต่ถ้าเราไม่ได้เตรียมการเพียงพอ อาจจะเกิดความเสี่ยงในอนาคตว่าศักยภาพของผู้คนอาจเกิดในทิศทางตรงกันข้าม”

pixabay.com

 

“Scenario  สุดท้าย Accelerated Generations อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก คือปัจจัยเรื่องการศึกษาที่ถูกการปฏิวัติใหม่ สองคือการพัฒนาทักษะ การเตรียมการของแรงงานผู้สูงวัย รวมถึงการพัฒนาเมืองให้มาเจอกันระหว่างความต้องการพัฒนาเมืองกับพัฒนาเพื่อสภาพแวดล้อม ซึ่งภายในปี 2030 สิ่งที่ต้องทำคือโฟกัสนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ เช่นครอบครัวและการร่วมมือกันของหลายๆ รุ่นในสังคม ถ้าเราทำได้ประเทศไทยจะกลายเป็น ประเทศที่สามารถเป็นผู้นำในการเป็นสตาร์ทอัป และเป็นสตาร์ทอัปที่ไม่ได้เกิดจากแค่รุ่นใหม่เท่านั้น แต่ยังเกิดจากทุกช่วงวัยที่สามารถทำงานร่วมกันได้”

djyhn.com

 

ภาพอนาคตของกรุงเทพภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัด 

อนาคตของกรุงเทพจะเป็น 4 ภาพ ถ้าดีสุดๆ จะเป็นอย่างไร ถ้าแย่สุดๆ จะเป็นอย่างไร ถ้าเป็นแบบนั้นไปเรื่อยๆ จะเป็นอย่างอย่าง และถ้ามมันเปลี่ยนแปลงจะเป็นอย่างไร ถ้าดีสุดๆ จะเป็นแบบ Green Metropolis ถ้าดีสุดๆ ในแบบที่บ้านเราสามารถควบคุมภัยพิบัติต่างๆ ได้ อนาคตจะต้องเป็นการทำให้เมืองเป็น green mega city หรือ green metropolis ที่มีแต่พื้นที่สีเขียว มีแต่สวนแนวตั้ง และสิ่งที่ทำให้เราอยู่ด้วยตัวเองได้อย่างยั่งยืน

“แต่ถ้าถ้าระดับน้ำทะเลมันขึ้น แต่เรายังมองเห็นโอกาสของวิกฤติเรื่องน้ำ เราอาจจะพลิกจากกรุงเทพที่น้ำท่วมให้เป็น river city เป็นเวนิสอีกแห่งของโลก เป็นเมืองที่สามารถอยู่ร่วมกับน้ำได้และยังคงมีสุขภาวะที่ดี ไม่ใช่เมืองที่ประสบความลำบากแต่เป็นเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้เราปรับตัวอยู่กับน้ำได้”

Green Metropolis (Future Tales Lab )

 

“แต่ถ้าเราปล่อยให้เป็น river city ไปเรื่อยๆ เมืองอาจจะเป็น water city เหมือนว่าพอน้ำจะท่วมจุดหนึ่ง เราก็เลือกพัฒนาพื้นที่รอบๆ อนาคตเมืองแบบนี้คือเมื่อเกิดปัญหาแล้วค่อยแก้ แก้หน้างานไปเรื่อยๆ จะต่างจาก river city ที่ค่อนข้างมีวิสัยทัศน์กว่า สุดท้ายเป็นสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดมากที่สุด คือ indoor city เป็นสถานการ์ที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมันถึงขั้นสุด และพวกเราไม่สามรถอยู่แบบเดิมได้ ทำให้ต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ เช่นทำเป็นโดมขึ้นมา ซึ่งภายในโดมจะเป็นพื้นที่ที่ควบคุมไม่ให้มลภาวะภายนอกส่งผลต่อสุขภาพ

River City (Future Tales Lab)

 

“แต่ถ้าเราเปลี่ยนเมืองไปเป็นแบบนี้อาจส่งผลต่อสังคมเช่นกัน อาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขั้นสูงสุด ดูได้จากปัจจุบันที่เราเจอกับปัญหาฝุ่น PM2.5 บ้านไหนมีกำลังจ่ายก็สามารถมีเครื่องกรองอากาศได้ แต่ถ้าบ้านไหนไม่มีก็ต้องสูดอากาศไม่ดีเข้าไป ตรงนี้ก็เป็นความเหลื่อมล้ำที่เห็นได้”  

Indoor City (Future Tales Lab)

 

“ปลายทางงานวิจัยนี้เราเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ หมายความว่าองค์กรใดจะนำไปใช้ก็ได้ ทั้งในส่วนของบริษัทเอง อะไรก็ตามที่เป็นไอเดียของภาพอนาคตนี้ พวกเราพยายามส่งต่อองค์ความรู้เหล่านี้ไปใช้ด้วยเช่นกัน มีบางโครงการที่พวกเราร่วมและพัฒนาอย่างจริงจังเลยว่ามันจะต้องเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เกิดขึ้นแค่ภาพอนาคต แต่เราจะทำอย่างไรเกิดขึ้นในภาคปฏิบัติ เราตั้งใจที่จะสร้างคำแนะนำสำหรับการปฏิบัติ ทั้งสำหรับผู้พัฒนาเมือง ผู้กำหนดนโยบาย และกับประชาชนทั่วไป”

Share :