CITY CRACKER

Public Open Data Dashboard ฐานข้อมูลที่เปิดให้ประชาชนมองเห็นมิติของเมืองและงบประมาณการบริหารจัดการ

การพัฒนาเมืองที่ดีไม่ควรเป็นแค่เรื่องของพื้นที่ทางกายภาพเท่านั้น แต่รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งในรูปแบบการมีส่วนร่วมจัดการและออกแบบ ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบได้ พื้นที่และกระบวนการอย่าง Public Open Data Dashboard จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเสมือนศูนย์กลางเผยแพร่ข้อมูลจากรัฐบาลสู่ประชาชนในเมือง เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบ และรัฐบาลเองก็สามารถนำข้อมูลไปพัฒนาเมืองต่อได้ 

พื้นที่อย่าง Public Open Data Dashboard หรือฐานข้อมูลแบบเปิดนี้เป็นเครื่องมือสำคัญ และเป็นหนึ่งในวิธีที่ส่งเสริมให้เราได้เข้าไปมีส่วนร่วมและติดตามผลลัพธ์ของการพัฒนาเมืองตามที่เราต้องการได้ โดยส่วนมากเป็นรูปแบบเว็บไซต์ออนไลน์ที่ช่วยให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ภายในมักประกอบไปด้วยข้อมูลสำคัญที่ให้ประชาชนเข้าใจการทำงานของภาครัฐ เช่น การทำงานของรัฐบาลในช่วงไตรมาสและปีที่ผ่านมา ไปจนถึงการเข้าถึงการจัดการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง และการเก็บสถิติต่างๆ  

ประโยชน์ของการมี Public Open Data Dashboard คือการเข้าถึงฐานข้อมูลที่ง่ายและได้ประโยชน์ พร้อมทั้งสร้างเชื่อมั่นและโปร่งใสที่เราในฐานะผู้อยู่อาศัยและขับเคลื่อนเมืองสามารถไว้วางใจและเข้าไปตรวจสอบการทำงานของรัฐได้ ปัจจุบันเมืองเช่นกรุงเทพฯ หรือเมืองอื่นๆ ในไทยยังคงมีเครื่องมือเช่น Public Open Data Dashboard รูปแบบนี้ไม่มาก แต่หลายเมืองๆ ในต่างประเทศได้เริ่มใช้วิธีนี้เข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือของการพัฒนาและการออกแบบเมืองกันมากขึ้น

เพื่อทำความเข้าใจถึง Public Open Data Dashboard หรือฐานข้อมูลแบบเปิดนี้มากขึ้น City Cracker ชวนรู้จักพื้นที่สาธารณะที่เปิดให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบ พัฒนา และตรวจสอบ ตั้งแต่เรื่องความสำคัญของแพลตฟอร์ม ประโยชน์ต่างๆ ของฐานข้อมูลเปิด ไปจนถึงวิธีการที่ดีที่หลายเมืองจากต่างประเทศได้ทำ

 

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นฐานข้อมูลของเมืองฟอร์ตเวิร์ธ รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ

 

ข้อมูลที่ดีคือข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย 

ตัว Public Open Data Dashboard คือพื้นที่ศูนย์กลางที่เผยแพร่ข้อมูล ความสำคัญ เนื้อหา หรืออื่นๆ ที่ทางรัฐบาลต้องการสื่อสารออกไปถึงประชาชนในเมือง การสร้างพื้นที่รูปแบบนี้คือการใช้วิธีการ collective data โดยจะเก็บรวมรวบข้อมูลผ่านสถิติ ตัวเลข และจำนวน เพื่อนำมาใช้ในการจัดการและออกแบบเมือง ซึ่งส่งผลดีให้ต่อการมีฐานข้อมูลที่สืบค้นง่ายและยังสามารถนำไปต่อยอดสำหรับการพัฒนาเมือง 

โดยตัว Public Open Data Dashboard จะรวมข้อมูลสำคัญที่ส่งผลต่อเมืองและความเป็นอยู่ ขณะเดียวกันก็ขึ้นอยู่กับบริบทของพื้นที่หรือเมืองนั้นๆ เช่น อัตราการเกิดและการจัดการกับอุบัติเหตุไฟไหม้ การเพิ่มและลดของอาญชากรรมภายในเมือง โดยข้อมูลทั้งหมดจำเป็นต้องสื่อสารออกมาอย่างตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความเข้าใจง่ายและน่าเชื่อถือ นอกจากข้อมูลที่วัดผลได้จากการทำงานของรัฐบาล ข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญมักจะถูกนำเสอนในเว็บไซต์ด้วย เช่น ข้อมูลพื้นที่สีเขียว มลพิษในอากาศ สถานที่ที่มักเกิดเหตุอาชญกรรมบ่อย หรือพื้นที่โรงงานและบ้านเรือนก็ควรจำแนกออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน 

 

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นฐานข้อมูลของเมืองฟอร์ตเวิร์ธ รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ

 

ความสำคัญของข้อมูลที่เข้าถึงง่าย 

นอกจากความสำคัญของการมีพื้นที่กระจายข้อมูลในลักษณะนี้ ในแง่ของการเข้าถึงง่ายและเข้าใจง่ายนั้น ควเครื่องมือนี้ยังสามารถแบ่งความสำคัญของการเข้าถึงงานได้เป็น 4 ข้อหลักๆ ตามหัวข้อของข้อมูลที่สำคัญที่จะส่งผลต่อการอยู่อาศัยในเมืองของประชาชนในหลายๆ แง่มุม ได้แก่

1. การสร้างเมืองให้เป็นเมืองที่ปลอดภัยและน่าอยู่มากขึ้น โดยจะทำผ่านการเก็บข้อมูลและสถิติของการเกิดเหตุ หรือคดีอาชญกรรมในย่านต่างๆ รวมถึงจำนวนครั้ง ไปจนถึงเก็บข้อมูลและส่งผลให้เกิดการจัดการระบบโครงสร้างต่างๆ เช่น ถังขยะ เสาไฟ ตลอดจนพื้นที่ทางเท้าและทางเดินรถต่างๆ  

2. การจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลเพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชน เช่น เรื่องของพื้นที่เพื่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดเก็บสถิติพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่หรือเพิ่มขึ้น การพยาการณ์อากาศ อุณหภูมิ และค่ามลภาวะภายในเมืองของแต่ละพื้นที่

3. การส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจในย่านๆ นั้นหรือในระดับสเกลเมือง คือตัวข้อมูลสามารถแสดงให้เห็นถึงพื้นที่ค้าขาย ย่านอายู่อาศัย โรงงานแล้ว ยังสามารถมองลึกลงไปได้ถึงสถิติของผู้คนที่มีงาน และว่างงานภายในเมือง รวมถึงการลงทุนค้าขายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อไป 

4. การรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้ จะสามารถช่วยให้เราตรวจสอบและติดตามเงินภาษีที่รัฐบาลนำไปใช้พัฒนาเมืองตามแผนการ ตลอดจนลดโอกาสการเกิดคอรัปชั่น และอีกประโยชน์ของการรวมรวบดาต้าไว้ในนแหล่งข้อมูลเดียวกัน จะช่วยสร้างเมืองอัจฉริยะที่เข้าถึงได้ในอนาคต  เกิดการเชื่อมต่อส่วนประกอบต่างๆ ของเมืองและทำให้เกิดเป็นแผนภาพเดียวกันมากขึ้นในหลายๆ มิติของเมือง 

 

เว็บไซต์ที่เป็น Dashboard สำหรับวัดประสิทธิภาพของเมืองวูดเบอรี รัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

สร้างเมืองอัจฉริยะผ่านฐานข้อมูลเปิด (Open Data) 

เมื่อการเข้าถึงข้อมูลง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น เกิดการเชื่อมโยงในหลายๆ ภาคส่วนเองก็ส่งผลให้เมืองกลายเป็นเมืองอัจฉริยะทั้งในทางตรงและทางอ้อม ทั้งในแง่มุมของการอยู่อาศัยของพลเมือง ธุรกิจการค้าขาย ตลอดจนรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อและเปิดโอกาสไปถึงอนาคตของเมืองในมุมต่างๆ ทั้งความมั่นคงทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ ระบบขนส่ง ตลอดจนระบบการศึกษาอีกด้วย 

โดยข้อมูลแบบเปิดในลักษณะรูปแบบนี้สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ข้อมูลแบบเปิดสามารถนำไปสู่การพัฒนาบริการที่เป็นนวัตกรรมและการสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่ สามารถช่วยให้องค์กรตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น เป็นพื้นที่ที่ประชาชนสามารถติดตามได้อย่างโปร่งใส และมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ ได้รู้ถึงที่มาที่ไปของเงินที่ทางภาครัฐนำไปใช้พัฒนาและออกแบบเมือง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสในการมีส่วนร่วมที่จะช่วยให้พลเมืองสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น และเป็นการแบ่งอำนาจให้แก่พลเมืองในการมีส่วนร่วมต่อนโยบายที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการได้ดีขึ้น และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มีส่วนร่วมกับรัฐบาล และกลายเป็นเมืองที่ดีต่อทุกคน

 

Palmerston North

 

ตัวอย่าง Public Open Data Dashboard จากหลายเมืองทั่วโลก 

ในต่างประเทศมีการใช้วิธีการนี้เพื่อกระจายข้อมูลและสร้างความเข้าถึงง่ายมากขึ้นให้แก่ประชาชน ซึ่งจากผลการสำรวจจาก Office of Innovation and Technology ถึงการใช้งาน Public Open Data Dashboard ของเมืองฟิลาเดลเฟีย พบว่า 90% ของจำนวนประชากรที่สำรวจบอกว่า การมีข้อมูลที่เข้าถึงได้นี้สำคัญต่อการทำงาน รวมถึง 92% ของจำนวนประชากรที่สำรวจบอกว่า ดาต้าที่เป็นรูปภาพเองก็มีส่วนช่วยให้เข้าใจง่ายเพิ่มขึ้น 

นอกจากนี้ยังมีเมืองอื่นๆ ที่เริ่มนำข้อมูลแบบเปิดรูปแบบนี้มาใช้มากขึ้น โดยแต่ละเมืองจะมีความแตกต่างออกไป เช่น เมืองพาล์เมอร์สตันนอร์ท (Palmerston North) ของประเทศนิวซีแลนด์ (performance.envisio.comที่สร้างกลยุทธ์ 4 เป้าหมาย สอดคล้องกับแผนพัฒนาเมือง 10 ปี โดยแบ่งปันข้อมูลตรงนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามได้ว่าเมืองกำลังพัฒนาไปในทิศทางใด รวมถึงการติดตามข้อมูลการฟื้นตัวของเมืองหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ 

เมืองมินนิตองกา (Minnetonka) มินิโซตา (performance.envisio.com) ก็ตั้งเป้าถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนในเมืองให้ดีขึ้นภายในฐานข้อมูล ทั้งการอัปเดตไฟสัญญาณจราจร ข้อมูลภาพที่เข้าใจง่าย ตลอดจนโซเชียลมีเดียและกิจกรรมอื่นๆ ในเมือง เช่นเดียวกับชูก้าแลนด์ในรัฐเท็กซัส (sugarland.clearpointstrategy.com) ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลการทำงานและการพัฒนาเมืองออกมาในลักษณะของไอคอนที่เข้าใจง่าย เช่นข้อมูลดาต้ารูปแบบกราฟ รวมถึงแสดงถึงเป้าหมายของทิศทางการพัฒนาเมืองผ่านหน้าเว็บไซต์อีกด้วย 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

clearpointstrategy.com

clearpointstrategy.com

envisio.com

blog.cumul.io

performance.envisio.com

performance.envisio.com

sugarland.clearpointstrategy.com

technical.ly

Graphic Design by  Supatsorn Boontumma
Share :