CITY CRACKER

เมืองสู้ความจน: พลังของผังเมืองที่ช่วยเรื่องความไม่เท่าเทียม

เวลานึกภาพเมืองที่รุ่งเรืองเมืองที่สวยงามเราเห็นภาพคอนโดหรูสูงเสียดฟ้าเห็นห้างสรรพสินค้าเห็นตึกอาคารกระทั่งสวนสีเขียวสวยๆภาพของเมืองที่ดีดูจะเป็นพื้นที่ของคนแค่บางกลุ่มหรือกลุ่มคนฐานะดีในขณะที่คนยากจนผู้มีรายได้น้อยทั้งหลายก็จะต้องหลบซ่อนอยู่ตามเหลี่ยมมุมด้วยประเด็นทางเศรษฐกิจการลงทุนและการพัฒนา

 

อสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายก็ล้วนมีคนที่มีรายได้อย่างน้อยก็ปานกลางถึงสูงเป็นเป้าหมายการพัฒนาสำคัญแต่ในความจริงภายในเมืองเป็นพื้นที่ที่ประกอบขึ้นด้วยชนทุกชั้นยิ่งการพัฒนาเน้นไปที่เพียงคนบางกลุ่มไปจนถึงผู้มีรายได้สูงมากเท่าไหร่เราก็จะยิ่งเห็นเมืองที่มีความเหลื่อมล้ำมากขึ้นเท่านั้น

ความเหลื่อมล้ำในเมืองนึกภาพหนังดิสโทเปียอันเป็นหนึ่งในวิธีการฉายภาพอนาคตที่อาจไม่ไกลเท่าไหร่เราอาจเริ่มเห็นการแบ่งแยกผู้คนผ่านย่านพักอาศัยเห็นภาพของตึกสูงสวยงามที่ห่างออกไปแค่กำแพงกั้นเป็นสลัมยิ่งความเหลื่อมล้ำมีมากเท่าไหร่ความรู้สึกถึงความอยุติธรรมก็มีมากขึ้นเท่านั้นและเมื่อเกิดความรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมความรุนแรงความเกลียดชังและอาชญากรรมก็เกิดตามเป็นเงาตามตัว

หนึ่งในปัญหาของเมืองจึงทำให้เกิดจากการสร้างหรือพัฒนาเมืองคือเมืองสวยๆถูกสร้างขึ้นเพื่อคนมีเงินในขณะเดียวกันในการพัฒนาการสร้างพื้นที่ก็ต้องใช้แรงงานแรงงานสร้างและยืนมองในที่ๆตัวเองไม่อาจเอื้อมถึงกระทั่งสวนฟรีๆสวยๆยังไม่ใช่ที่ๆคนจนจะเข้าไปใช้สาธารณูปโภคอื่นๆในพื้นที่ก็ดูจะแพงขึ้นเป็นลำดับรถไฟฟ้าที่สะดวกสบายอาจราคาแพงเกินไปโรงเรียนร้านอาหารสาธารณูปโภคอื่นๆไปจนถึงบ้าน

ในหลายประเทศผังเมืองจึงเริ่มเข้ามามีส่วนในการแก้ปัญหาการสร้างเมืองที่พยายามซ่อนคนจนอย่างน้อยที่สุดคือการจัดสรรค์สาธารณูปโภคสำคัญและการเข้าถึงทรัพยากรอันเป็นหัวใจหลักในการลดความเหลื่อมล้ำออกแบบระบบขนส่งมวลชนให้เข้ากับคนทุกระดับชั้นทำให้คนมีรายได้น้อยเข้าถึงทุนเข้าถึงการศึกษาสามารถสะสมทุนได้เป็นการพยายามสร้างความยุติธรรมบนโลกทุนนิยมที่ไม่ค่อยยุติธรรมใบนี้

 

ลดคอนทราสต์ ลดการเผชิญหน้า

ภาพของเมืองที่ขัดกันมากๆระหว่างโลกคนรวยและโลกคนจนที่ตั้งเผชิญหน้ากันนี่แหละที่จะเป็นชนวนเหตุและเป็นการก่อความรู้สึกแย่ๆให้กับช่องว่างทางชนชั้นที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่กรุงบัวโนสไอเรสก็เป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ที่พบว่าเมื่อคนจนกับคนรวยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันมากๆในขณะที่อยู่ใกล้กันคนทั้งสองฝั่งก็จะเกิดความเป็นปรปักษ์ต่อกันไปโดยปริยาย

ทางเมืองจึงพยายามลดบรรยากาศตึงเครียดและช่องว่างนั้นโดยการจัดโครงการเข้มๆด้วยการไปปรับปรุงย่านรายได้น้อยด้วยสิ่งปลูกสร้างและบริการต่างๆไปสร้างโรงละครสร้างโรงเรียนสร้างห้องสมุดขึ้นภายในชุมชนการมีพื้นที่สาธารณะดีๆถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้ชุมชนนั้นๆเข้าถึงทุนและการพัฒนาได้

การขยายและเน้นการเข้าถึงทรัพยากรภายในเมืองใหญ่เลยเป็นคำตอบที่ดูเรียบง่ายที่สุดที่นอกจากจะพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนโดยรวมแล้วกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสกว่ามีทุนทรัพย์น้อยกว่าก็ควรจะอยู่ในเรดาร์ของการพัฒนาด้วยเช่นว่าระบบขนส่งมวลชนทั้งระดับย่านไปจนถึงประเทศรองรับกับคนทุกกลุ่มรึยังแพงไปไหมมีโรงเรียนมีศูนย์ฝึกอาชีพมีสถานพยาบาลเพียงพอรึเปล่า

 

กฏ1.2.3 จากอินโดเนเซียเพื่อที่พักหรูไม่กระจุกตัว

ปัญหาสำคัญคือการพัฒนาที่กระจุกตัวส่วนหนึ่งมาจากประเด็นเรื่องความคุ้มค่าของราคาที่ดินเช่นที่ดินย่านหนึ่งแพงมากก็เป็นไปได้ว่าในระยะยาวแถบนั้นจะมีแต่บ้านพักอาศัยหรูหราตัวผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เองก็สร้างโดยมีเป้าหมายเป็นคนที่มีฐานะดีผลโดยตรงคือบ้านราคาต่ำๆสำหรับผู้มีรายได้น้อยก็ไม่มีภูมิทัศน์เมืองก็กลายเป็นกระจุกๆเป็นก้อนบ้านหรูแยกออกจากพื้นที่ด้านนอก

การล้อมรั้วเลยเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ทั้งแก้และได้ปัญหาใหม่ๆการล้อมรั้วและเกิดเป็นหมู่บ้านเป็นชุมชนคุณภาพเกิดจากการต้องการความปลอดภัยหนีจากอาชญกรรมภายนอกในขณะเดียวกันก็อาจนำไปสู่ความรู้สึกแปลกแยกและการซ่อนคนจนขึ้นตรงนี้ในเชิงความรู้สึกเลยอาจยิ่งขยายความเหลื่อมล้ำให้มากขึ้นได้

ในปี2012 ที่อินโดนีเซียเล็งเห็นว่าการพัฒนาบ้านพักอาศัยถ้าปล่อยไปแบบนี้มีแต่การแบ่งแยกและความแปลกแยกทางการก็เลยออกกฏขึ้นสองส่วนใหญ่ๆเพื่อลดความแปลกแยกและช่องว่างทางชนชั้นขึ้นส่วนแรกคือกฏ1 2 3 และการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม(socialisation)’

กฏ1 2 3 นี้คือการตั้งเกณฑ์ว่าถ้าผู้พัฒนาอสังหาฯจะสร้างบ้านไฮเอนด์ขึ้น1 ยูนิตต้องมีการสร้างบ้านพักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้ปานกลาง2 ยูนิตและมีโครงการสำหรับผู้มีรายได้น้อย3 ยูนิตคือแปลว่าในพื้นที่พักอาศัยหนึ่งๆที่จะเกิดการพัฒนาจะมีการเกลี่ยฐานะบนการใช้พื้นที่ผืนนั้นๆในขณะที่กฏปฏิสัมพันธ์ทางสังคมคือข้อบังคับว่าเจ้าของโครงการจะต้องลงไปพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่รอบๆเพื่อรับรองโครงการนั้นๆก่อน(บ้านเราก็มีแหละ)

 ด้วยความที่ความเหลื่อมล้ำเป็นประเด็นใหญ่เป็นปัญหาระดับโครงสร้างที่ไม่ได้แก้ได้ง่ายๆผลการสำรวจพบว่าความพยายามของอินโดเนเซียเองก็อาจไม่ได้สัมฤทธิ์ชัดเจนเท่าไหร่เช่นการใช้สัดส่วนที่ดินเอาเข้าจริงก็มีความคลุมเครืออยู่หรือการลงไปมีปฏิสัมพันธ์สุดท้ายก็นำไปสู่การต่อรองระหว่างเจ้าของโครงการกับชาวบ้านเป็นการจ้างงานหรือสมประโยชน์บางอย่าง

 

แต่ประเด็นสำคัญคือความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญและความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นจากแทบทุกมิติในชีวิตของเรากระทั่งในเมืองที่เราเดินปะปนกันระหว่างชนทุกชั้นหลายครั้งที่คนทุกชั้นในเมืองไม่ได้อยู่ในสายตาของการพัฒนาของอนาคตเมืองเป็นเมืองที่ซ่อนคนบางกลุ่มไว้และออกแบบให้สำหรับแค่คนอีกกลุ่ม

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

oecd.org

theconversation.com

smartcitiesdive.com/

vitainternational.media

 

 

Share :